วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

ทำไมค่าเฉลี่ยการอ่านหนังสือของเด็กไทยลดลง ?

ทำไมค่าเฉลี่ยการอ่านหนังสือของเด็กไทยลดลง ?
      เป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อมีการสำรวจว่า ค่าเฉลี่ยของเด็กไทยในประเทศ มีค่าเฉลี่ยของการอ่านหนังสือที่น้อยลงเป็นอย่างมาก เพราะอะไร? การศึกษาไม่สนับสนุนเด็กไทยเกี่ยวกับการอ่านหรือ ทั้งที่เห็นโฆษณามากมายเกี่ยวกับวันหนังสือ หรือห้องสมุดต่างๆที่เกิดขึ้นมากมาย แม้กระทั่งห้องสมุด ออนไลน์ที่สามารถทำให้เด็กอย่างเราค้นหาหนังสืออ่านได้ตลอดเวลาที่ไม่จำกัด หรืออาจเป็นเพราะเทคโนโลยี การสื่อสาร ต่างๆเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กมากขึ้น คาดว่าหนังสือมาถูกแทนที่ด้วย โทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ จากการอ่านหนังสือของเด็กจึงน้อยลง หรือจะเป็นค่านิยมแบบผิดๆที่ปลูกฝังให้เด็กเข้าใจว่า หนังสือล้าสมัย แท็บเล็ต(Tablet) สิ เป็นสิ่งที่ดีกว่า จึงทำให้หนังสือเริ่มอยู่ห่างมือเด็กไทยออกไป การอ่านหนังสือของเด็กไทยที่น้อยลงจะโทษการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างเดียวคง ไม่ถูกต้องการที่เด็กจะเรียนรู้หรือได้พฤติกรรมบางส่วนมานั้นอันดับแรก การลอกเลียนแบบพฤติกรรมนั่นคือผู้ใหญ่ในครอบครัว เนื่องจากในสภาวะสังคมในตอนนี้มีการเกิดช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่เป็น อย่างมากเมื่อสิ่งต่างๆที่เข้ามาจูงใจเด็กมีมากกว่า และใกล้ตัวกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญในการทำให้หนังสือหมดค่าลงไปไม่ใช่ว่าแต่เด็ก ไทยเท่านั้นที่อ่านหนังสือน้อยลง เพราะสถิติที่ออกมาใหม่เป็นการเก็บรวบรวมจากคนไทยทั่วประเทศพบว่า คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 8 บรรทัดซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน มาเลเซีย เวียดนาม อ่านหนังสือ 5 เล่ม ต่อปี
      เมื่อค่าเฉลี่ยเป็นที่น่าตกใจขนาดนี้เราจะไปโทษแต่เด็กอย่างเดียวมันก็ไม่ สมควรเพราะผู้ใหญ่ก็ยังไม่ค่อยจะอ่านหนังสือกันเลย แต่ในความน่ากลัวก็มีสิ่งดีอยู่ว่าค่าเฉลี่ยของการรู้หนังสือของคนไทยสูง ขึ้น พอได้เข้าเรียนแล้วการแข่งขันก็สูงขึ้นยิ่งสมัยก่อนใช้การสอบแบบเอ็นทรานซ์ ใครได้คะแนนดีก็จะได้เรียนมหาลัยดีๆ ทุกอย่างหรือเทคโนโลยีที่เข้ามาในชีวิตตอนนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายไปสะ ทุกอย่างเกี่ยวกับเด็ก หนังสือเลยห่างออกไป เมื่อก่อนคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ห่างมือคนไทยเป็นอย่างมาก  แต่ตอนนี้แม้กระทั่งเด็ก ป.1 มีโทรศัพท์ใช้กันหมด แล้วไม่ใช่รุ่นทั่วไปธรรมดานะ แต่เป็นรุ่นที่มีฟังก์ชั่นครบครันดูเหมือนจะไฮเทคกว่ารุ่นเราๆสะอีกที่ได้ กล่าวไป ไม่ใช่ว่าการใช้เทคโนโลยีของเด็กไทยจะดีเสมอไปแต่ตราบใดที่ผู้ใหญ่ ไม่เกิดการปิดกั้นช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ปิดกั้นการเรียนรู้ของตัวเองให้จมปรักอยู่กับสิ่งที่เขียนอยู่ในกระดาษ ผู้ใหญ่ก็คงจะไล่ตามเด็กสมัยนี้ไม่ทัน จากการเดินทางของเทคโนโลยีที่รวดเร็วกว่าการยกหูโทรศัพท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ถ้าผู้ใหญ่ไม่หัดที่จะเรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยีแล้วจะมี วิธีการใดที่จะช่วยเด็กๆให้พ้นจากอันตรายเหล่านี้ได้  เมื่อเราอ่านแล้วเกิดคำถาม เกิดความสงสัย เราสามารถหยุดอ่านบรรทัดนั้นได้แล้ว คิดต่อว่าสิ่งที่เราอ่านนั้นใช่หรือไม่ใช่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงตามที่ผู้ เขียนนั้นเขียนไว้
      การอ่านช่วยในการสร้างสมาธิได้ดี คนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นคนที่มีสมาธิดี การอ่านจึงเป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งเป็นการฝึกสมาธิที่ได้ทั้งองค์ความรู้ ความคิด และข้อมูลต่างๆในเวลาเดียวกัน การอ่านช่วยในการพัฒนาตนเองอีกด้วย คนที่ชอบเรียนรู้ชอบที่จะพัฒนาตนเองการอ่านเป็นสิ่งที่ช่วยคุณได้ดีเหมือน กันในเรื่องนี้เพราะการอ่านจะช่วยให้เราเกิดทักษะต่างๆมากมายทั้งนี้การอ่าน ยังให้ทั้งความบันเทิงความเพลิดเพลิน การอ่านหนังสือตลก หนังสือบันเทิง หนังสือนิยายจะช่วยเพิ่มความเพลิดเพลินได้อีกวิธีหนึ่ง การอ่านมาพร้อมกันการสร้างแรงบันดาลใจเสมอ คนที่ประสบความสำเร็จมักชอบอ่านหนังสือ การอ่านทำให้เกิดความคิด เกิดแรงบันดาลใจ เกิดความมานะที่จะต่อสู้สิ่งต่างๆ เมื่อเราเห็นประโยชน์ของการอ่านหนังสือแล้วแต่ถามว่าทำไมคนไทยจึงไม่ชอบ อ่านหนังสือ อาจเป็นเพราะหลายคนคิดเรื่องเกี่ยวกับหนังสือไม่ถูกต้อง คุณประโยชน์ของการอ่านจึงเป็นการเปิดหน้าต่างให้เราพบโลกที่กว้างขึ้น เราสามารถเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นอยู่ เรื่องราว ของประเทศต่างๆ ของคนอีกซีกหนึ่งของโลกก็ด้วยการอ่าน จงอ่านหนังสือมากๆแล้วชีวิตของท่านจะเปลี่ยนแปลง
<พัชรณัฏฐา  พรพระพรหม>
เอกสารอ้งอิง
เผยเด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง! : http://www.bookandreading.com/thaireading/


เครดิต http://www.dek-d.com/board/view/3054622/
ที่มา : http://www.happyreading.in.th/article/detail.php?id=1690

การอ่าน : การพัฒนาศักยภาพมนุษย์

การอ่าน : การพัฒนาศักยภาพมนุษย์

(การอ่าน : การพัฒนาศักยภาพมนุษย์)
(วัฒนธรรมเลี้ยงลูกด้วยหนังสือ : วัฒนธรรมสร้างชาติ)
ฯลฯ
ตอนที่ ๑.
คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ
เด็กไทยชอบเกมคอมพิวเตอร์มากกว่าหนังสือ
คนไทยไม่รักการอ่าน
นี่คือ ๒ ปัญหาสำคัญของประเทศไทยที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน และส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของเรา
มันเกิดจากอะไรและจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
นี่คือสิ่งที่หลายๆ องค์กร ทั้งของรัฐและเอกชนต่างพยายามช่วยกันแก้ไขมากว่า ๑๐ ปีแล้ว แต่ทุกอย่างก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าใดนัก ยิ่งเมื่อไปเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ที่เป็นคู่แข่งของเราในการทำมาหากินอยู่ในทุกวันนี้ และประเทศที่คาดว่าอาจจะเป็นคู่แข่งของเราในอนาคต สิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จของเราก็ดูเหมือนจะอยู่ห่างไกลยิ่งนัก ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำก่อนที่จะเดินหน้าทุ่มเทเพื่อการแก้ปัญหาต่อไปก็ คือการทบทวนปัญหาและสถานการณ์ของปัญหาใหม่โดยละเอียด ทบทวนยุทธศาสตร์และวิธีการที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันว่ายังสอดคล้องกับปัญหา ที่เรากำลังเผชิญอยู่ และสามารถที่จะช่วยให้เราแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่


ทำไมเด็กไทย และคนไทยจึงไม่ชอบอ่านหนังสือ
                เดิมเรามองว่าการที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่อ่านหนังสือเป็นเพราะเขามองไม่เห็นความ สำคัญ มองไม่เห็นประโยชน์ของการอ่าน ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องทั้งหมด จริงๆ แล้วทุกคนรู้ถึงประโยชน์ของการอ่านหนังสือ เห็นได้จากพ่อแม่พยายามเคี่ยวเข็ญให้ลูกที่ยังเป็นนักเรียน ที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่อ่านหนังสือ ท่องตำหรับตำรา เพื่อที่จะสามารถสอบได้คะแนนดีๆ จบมาจะได้มีโอกาสหางานดีๆ ทำได้ ซึ่งหากวิเคราะห์ตรงนี้ให้ดี มันน่าจะหมายความว่าการอ่านสำหรับผู้ใหญ่ หรือคนที่เป็นพ่อแม่แล้วมันมีความหมายเพียงแค่เครื่องมือชนิดหนึ่งในการ เรียนหนังสือให้ได้ดีเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเรียนจบแล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอ่านหนังสืออีกต่อไป เหตุผลที่ช่วยสนับสนุนตรงนี้ก็คือ เมื่อเรียนจบและได้ทำงานแล้วคนไทยส่วนใหญ่ก็มักจะไม่อ่านหนังสืออีก หรืออ่านก็เพียงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเท่านั้น
                สภาพการณ์เช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาในบ้านเรายังไม่สามารถทำให้ผล ผลิตของการศึกษากลายเป็นผลผลิตที่มองเห็นความจำเป็นของการอ่านและการเรียน รู้ตลอดชีวิต        การอ่านและการเรียนรู้เป็นเพียงบันไดเพื่อการได้มาซึ่งวุฒิการศึกษา เพื่อเป็นใบเบิกทางในการก้าวเข้าไปสู่การมีงานทำ
                เมื่อผู้ใหญ่ในปัจจุบันไม่เห็นความจำเป็นของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ก็จะไม่มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง พฤติกรรมที่ปรากฏชัดแก่สายตาของเด็กรุ่นหลังๆ ก็คือการไม่อ่าน ซึ่งเด็กก็จะเกิดการซึมซับและลอกเลียนเอาพฤติกรรมเหล่านี้ไปเป็นพฤติกรรมของ ตัวเอง แม้ผู้ใหญ่จะพร่ำบ่นถึงความสำคัญของการอ่านมากเพียงใด มันก็ไม่สามารถที่จะทำให้เด็กหันมาให้ความสำคัญกับการอ่านและการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องได้ เพราะสิ่งที่ผู้ใหญ่แสดงออกมานั้นมันสื่อเป็นนัยว่า “ไม่ต้องอ่านก็ได้ เพราะผู้ใหญ่ก็ยังไม่อ่านเลย”


ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
                ในทางจิตวิทยาเราพบว่า หากสิ่งที่ผู้ใหญ่สอนและสิ่งที่ผู้ใหญ่ปฏิบัติมีความขัดแย้งกัน    เด็กจะทำตามในสิ่งที่ผู้ใหญ่ปฏิบัติ ซึ่งมีความสอดคล้องกับการค้นพบใหม่ในทางประสาทวิทยาศาสตร์ นั่นคือการค้นพบเซลล์กระจกเงาในสมองของมนุษย์ การค้นพบนี้ทำให้เรารู้ว่าวิธีเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการเรียน รู้ด้วยการเลียนแบบ พฤติกรรมทางสังคม ทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษา ทักษะทางอาชีพ หรือแม้แต่ทักษะในการดำรงชีวิตประจำวันวัน เราต่างเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบทั้งสิ้น
การอ่านและการเรียนรู้คือพฤติกรรมหรือทักษะ ที่เป็นทั้งพฤติกรรมส่วนบุคคล และพฤติกรรมของสังคม ย่อมต้องเรียนรู้ผ่านการมีแบบอย่างให้เห็น ในเมื่อผู้ใหญ่ก็ไม่อ่านไม่เรียนรู้เสียแล้ว จะพร่ำบ่นพร่ำสอนอย่างไร มันก็จะไม่สามารถก่อให้บังเกิดผลใดๆ ขึ้นมา
                เรื่องนี้คือปมที่สำคัญที่สุดของการส่งเสริมการอ่านในบ้านเรา เราช่วยกันรณรงค์ให้พ่อแม่เล่านิทานอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ลูกยังแบ เบาะมาหลายปีแล้ว แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น แถมงานวิจัยบางชิ้นยังพบว่า แม้เด็กจะชอบการอ่านหนังสือตั้งแต่ตอนยังเป็นเด็กเล็ก แต่พอโตขึ้นเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนต้น เด็กกลับอ่านหนังสือน้อยลง เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่เราไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดี ให้แก่เด็กๆ ของเรา
ดังนั้นการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้เกิด ขึ้นในสังคมไทยด้วยการส่งเสริมให้พ่อแม่เล่านิทานอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ การส่งเสริมให้วัยรุ่นรักการอ่านโดยการสร้างห้องสมุดที่ดึงดูดความสนใจหรือ ที่เราพยายามเรียกว่า “ห้องสมุดมีชีวิต”จึงไม่น่าจะพอเพียงสำหรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริม การอ่านให้สัมฤทธ์ผลได้ การโน้มน้าวผู้ใหญ่ทุกคนให้หันมาอ่านหนังสือ หันมาเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆ ให้กับตนเองอยู่ตลอด ทำให้การอ่านหนังสือกลายเป็นกิจวัตรประจำวันที่ขาดไม่ได้ ทำให้การเรียนรู้คือสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขของทุก คนในสังคม วัตรปฏิบัติเช่นนี้จะกลายเป็นต้นแบบให้เด็กได้ลอกเลียน และเมื่อรวมกับวิธีการอื่นๆ ที่ได้ลงมือทำไปแล้วก็น่าที่จะทำให้สถานการณ์ของการแก้ไขปัญหาดีขึ้น

แรงดึงดูดของสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ
                คนญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นนักอ่านระดับต้นๆ ของโลก โดยดูได้จากการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ บนรถไฟ รถประจำทางในญี่ปุ่น ภาพคนนั่ง ยืนอ่านหนังสือเป็นภาพที่เราพบเห็นจนชินตา แต่ไม่กี่ปีมานี้เองรัฐบาลและเอกชนญี่ปุ่นต้องเร่งรณรงค์ส่งเสริมการ อ่านอย่างขนานใหญ่ เพราะเขาพบว่าเด็กญี่ปุ่นรุ่นใหม่อ่านหนังสือน้อยลงกว่าแต่ก่อนมาก สาเหตุเนื่องมาจากเกมคอมพิวเตอร์และ อินเตอร์เน็ตได้เข้ามาดึงดูดความสนใจ และเวลาของพวกเขาไปจากหนังสือ
                สำหรับประเทศไทย อัตราการอ่านหนังสือของเราต่ำกว่าของญี่ปุ่นอยู่มาก แต่อิทธิพลของเกมคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตนั้นไม่แตกต่างกัน เผลอๆ อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะเราหลงไปเข้าใจผิดว่าเกมคอมพิวเตอร์คือเครื่องมือพัฒนามนุษย์ที่ไม่ก่อ ให้เกิดผลเสียใดๆ เราจึงส่งเสริมให้เด็กๆ ของเราเล่นเกมเหล่านี้โดยปราศจากการควบคุม สุดท้ายปัญหาเด็กติดเกมเลยกลายเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับบ้านเรา แน่นอนสิ่งนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อการปลูกฝังวัฒนธรรมการอ่านให้กับเด็กของเรา ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเรื่องการอ่าน และการสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้น เราต้องพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลกระทบเหล่านี้ด้วย


การกระจายหนังสือสู่ผู้อ่าน
                ได้กล่าวไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า คนไทยส่วนใหญ่มองว่าการอ่านหนังสือไม่มีความจำเป็นต่อชีวิต และยิ่งมาเจอกับสภาพที่ไม่มีหนังสือให้อ่าน ไม่มีห้องสมุด ไม่มีร้านหนังสือที่สามารถซื้อหาหนังสือมาอ่านได้ด้วยราคาที่ไม่เป็นภาระมาก นัก ก็ยิ่งทำให้อัตราการอ่านหนังสือของคนไทยยิ่งน้อยลง
                มีคนพูดว่าในบ้านเราถ้าหากจะหาซื้อเหล้าเบียร์มาดื่ม ซื้อบุหรี่มาสูบนั้น สามารถทำได้ง่ายกว่าการหาหนังสือพิมพ์สักฉบับมาอ่าน นี่คือความจริงที่เราต้องยอมรับ ร้านขายหนังสือในบ้านเราจะมีก็เพียงในระดับอำเภอ ระดับจังหวัดเท่านั้น ซึ่งหากนับรวมกันทั้งประเทศแล้วก็ไม่น่าจะเกิน ๑,๕๐๐ แห่ง เมื่อมาเปรียบเทียบกับคนจำนวน ๖๕ ล้านคนแล้ว ถือว่าน้อยมาก ลองคิดดูเล่นๆ ว่าหากมีใครสักคนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งห่างจากตัวอำเภอเพียงแค่ ๒๐ กิโลเมตร วันดีคืนดีเขาอยากอ่านหนังสือสักเล่ม หรือหนังสือพิมพ์สักฉบับขึ้นมา สิ่งที่เขาจะต้องทำก็คือการหาทางเดินทางเข้าไปในอำเภอ จะด้วยพาหนะส่วนตัวหรือรถประจำทางก็ตามที เพื่อไปห้องสมุดหรือร้านขายหนังสือ เขาจำเป็นจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมงเพื่อการนี้ และก็จะเกิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมา เพียงแค่คิดก็คงพอจะได้คำตอบแล้วว่า เขายังอยากที่จะอ่านหนังสืออยู่อีกหรือไม่ ความไม่สะดวกในการเข้าถึงหนังสือและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จึงกลายเป็นอุปสรรคอีกอันหนึ่งที่ขวางกั้นการรักการอ่านของผู้คนในสังคมไทย
                รัฐบาลพยายามที่จะสร้างโอกาสในการเข้าถึงหนังสือของคนไทยให้มากขึ้น ด้วยการสร้างห้องสมุดประชาชนให้กระจายไปตามชุมชนหรือท้องถิ่นต่างๆ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะห้องสมุดที่มีอยู่ก็มีเพียงแค่ในระดับอำเภอ ซึ่งปัญหาก็ไม่ต่างจากการกระจายตัวของร้านหนังสือ คือไกลเสียจนคนไม่อยากเดินทางมาใช้บริการ การสร้างที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านตามนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของประชาชนก็สามารถสนับสนุนได้เพียงหนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร และสิ่งพิมพ์เผยแพร่งานของทางราชการเพียงไม่กี่รายการ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะดึงดูดให้ประชาชนเกิดความสนใจใคร่ที่จะอ่านหรือค้นคว้า หาความรู้ให้กับตนเอง
                ในส่วนขององค์กรท้องถิ่นที่กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทแทนที่กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ก็ยังไม่สามารถพัฒนาตนเองไปสู่บทบาทของการสนับสนุนให้ประชาชนเกิดความ ตระหนักในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เกิดความรูสึกรักการอ่าน หรือสนับสนุนให้เกิดแหล่งค้นคว้าหาความรู้ในท้องถิ่นได้ ส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป เพราะยังให้ความสำคัญอยู่กับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และโครงสรางพื้นฐานกันอยู่


หนังสือดียังมีไม่เพียงพอ
                ท่านคงเคยได้ยินเรื่องราวของผู้เขียนนวนิยายเรื่อง แฮรี่ พอร์ตเตอร์ หนังสือที่ขายดีที่สุดในโลกกันมาบ้างแล้ว จากคนฐานะธรรมดาๆ แถมออกจะจนด้วยซ้ำไปคนหนึ่ง แต่ด้วยหนังสือเพียงเล่มเดียวก็สามารถทำให้เธอกลายเป็นเศรษฐีในเวลาไม่กี่ปี เธอเขียนหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษ ด้วยความสนุกสนานของหนังสือเล่มนี้ทำให้มันถูกนำไปแปลเป็นอีกไม่รู้กี่ภาษา เพื่อเผยแพร่ไปทั่วโลก รายได้กลับมาสู่เธอเป็นกอบเป็นกำ ทำให้เธอไม่ต้องพะวงกับเรื่องการทำมาหากิน เธอสามารถทุ่มเทเวลาให้กับการค้นคว้าและสร้างผลงานต่อเนื่องได้อย่างเต็มที่ หนังสือเล่มต่อเนื่องของ แฮรี่ พอร์ตเตอร์ จึงปรากฏสู่สายตาผู้อ่านเล่มแล้วเล่มเล่า และก็ขายดีเป็นอย่างยิ่ง ในที่สุดเธอก็กลายเป็นเศรษฐีมีอันดับของโลกใบไป
                การที่หนังสือสักเล่มจะขายได้ดีนั้นไม่ใช่เพราะความบังเอิญ หากแต่เป็นจากคุณภาพของตัวหนังสือเอง นั่นก็หมายความว่าผู้เขียนจะต้องมีความรู้ที่ชัดแจ้ง มีจินตนาการ มีทักษะในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือความรู้ต่างๆ ออกมาเป็นตัวหนังสือได้อย่างมีเสน่ห์ สิ่งเหล่านี้ต้องมีการฝึกฝน ค้นคว้า ซึ่งก็หมายความว่าต้องอาศัยเวลาในการทำงานนั่นเอง และการที่นักเขียนจะทำแบบนี้ได้นั้นรายได้จากการเขียนหนังสือก็จะต้องมากพอ เพียงที่จะเลี้ยงตัวเขาเองในระหว่างการค้นคว้าข้อมูล และการเขียนหนังสือ ผู้เขียนหนังสือ แฮรี่ พอร์ตเตอร์ ใช้เวลาเป็นปีในการค้นคว้าเรียบเรียงและเขียนหนังสือแต่ละเล่ม โดยไม่ต้องพะวงกับการหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเองเลย รายได้จากการเขียนหนังสือเล่มก่อนๆ ทำให้เธออยู่ได้อย่างสบาย ดังนั้นหนังสือของเธอจึงมีคุณภาพ เมื่อมาอยู่ในตลาดสากลที่ใหญ่มากเพราะเป็นตลาดภาษาอังกฤษที่คนทั้งโลกใช้ ก็ยิ่งทำให้ผลตอบแทนยิ่งมากขึ้น ซึ่งตรงกันข้านอย่างยิ่งกับนักเขียนไทย หนังสือเรื่องหนึ่งหากขายได้เกินหนึ่งหมื่นเล่ม นักเขียนและสำนักพิมพ์ก็ดีใจกันจนแทบแย่แล้ว เพราะตลาดมันแคบ แถมคนไทยไม่ค่อยชอบอ่านหนังสืออีกด้วย นักเขียนไทยจึงอยู่ในสภาพที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดตลอดเวลา โอกาสที่จะได้ค้นคว้าข้อมูลอย่างเต็มที่ โอกาสที่จะได้ทำงานอย่างพิถีพิถันเพื่อให้เกิดผลงานดีๆ จึงเป็นไปได้ยาก คำว่า“นักเขียนไส้แห้ง”จึงเป็นจริงอย่างยิ่งสำหรับวงการนักเขียนไทย คนที่ก้าวเข้ามาสู่อาชีพนักเขียนอย่างเต็มตัวจึงมีน้อย เพราะต่างก็กลัวโรคไส้แห้งกัน โอกาสที่เราจะมีหนังสือดีๆ ในหลากหลายมิติ หลากหลายสาระให้เลือกอ่านจึงเป็นไปได้น้อย
                คนไม่ชอบอ่านหนังสือเพราะคิดว่ามันไม่จำเป็นสำหรับชีวิต ทำให้หนังสือขายได้น้อย    ทำให้คนเขียนหนังสือ คนพิมพ์หนังสือ คนขายหนังสือไม่กล้าลงทุนทำหนังสือ ไม่มีกำลังใจที่จะสร้างผลงาน เพราะกลัวขายหนังสือไม่ได้ ทำให้ปริมาณและคุณภาพของหนังสือลดลง ต้นทุนของหนังสือเพิ่มขึ้น หนังสือมีราคาแพง คนไม่กล้าซื้ออ่าน นี่คือวัฏจักรที่หมุนเวียนอยู่อย่างไม่รู้จบสิ้นในสังคมไทย การจะแก้ปัญหานิสัยไม่ชอบอ่านหนังสือของคนไทยให้ได้ผลจึงจะต้องมองปัญหา เหล่านี้ให้ทะลุ มองอย่างเชื่อมโยงและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เราจึงจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้


ตอนที่ ๒.
อ่านหนังสือแล้วได้อะไร
               
มีคนถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ว่า ถ้าอยากให้เด็กโตขึ้นเป็นคนเก่งควรจะทำอย่างไร อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แนะนำว่าให้อ่านหนังสือให้เด็กฟัง
คนถามคนเดิมถามซ้ำอีกว่าถ้าอยากให้เก่งแบบ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ล่ะจะต้องทำอย่างไร อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็ตอบอีกว่าก็ให้อ่านหนังสือให้ฟังเยอะๆ
คำตอบแบบนี้ แน่นอนคงทำให้คนถามรู้สึกว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เล่นลิ้น เพราะตอนนั้นความเข้าใจในเรื่องการอ่านและความฉลาดของมนุษย์ยังมีไม่มาก แต่ก็คงได้แค่ “ฟัง”เพราะคนตอบคือนักวิทยาศาสตร์ระดับรางวัลโนเบล จะไปต่อล้อต่อเถียงด้วยคงลำบาก
แต่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยืนยันว่าคำตอบของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นั้น เป็นจริง


การเรียนรู้ทำให้มนุษย์ฉลาด
                “We are who we are because of what we have learned and remembered.”
                นี่คือคำกล่าวของ นายแพทย์ อีริค อาร์ แคนเดล จิตแพทย์ชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๓ จากผลงานการค้นคว้าวิจัยการทำงานของเซลล์สมองในเรื่อง “การเรียนรู้และความจำ”จนทำให้เรารู้ว่าเซลล์สมองของเราทำงานอย่างไรจึงทำ ให้เราเรียนรู้ และจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้
เขาพบว่าข้อมูลต่างๆ จากภายนอก เมื่อผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเข้าไปในสมองของเรา   จะกระตุ้นเซลล์สมองของเราให้เกิดการแตกกิ่งก้านออกมาต่อเชื่อมกันเป็นวงจร วงจรที่ว่านี้จะทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วย กัน ทำให้เราเกิดความรู้และความเข้าใจในข้อมูลที่เรารับผ่านทางประสาทสัมผัสเข้า มา นี่คือ “การเรียนรู้”ของเรา ความรู้และความเข้าใจที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการเรียนรู้นี้ จะถูกเก็บไว้เป็น “ความจำ”  ตรงบริเวณรอยเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นนี้เอง หากมีการเรียนรู้ในเรื่องเดิมเกิดขึ้นซ้ำๆ อีก รอยเชื่อมต่ออันนี้ก็จะมีความแข็งแรง มั่นคงขึ้น นั่นก็คือเราจะจำเรื่องนั้นได้ดี แต่หากการเรียนรู้นั้นๆ เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้ง และถูกปล่อยปละละเลยไม่มีการเรียนรู้แบบเดิมเกิดขึ้นอีกเป็นเวลานานๆ รอยเชื่อมต่อของเซลล์ก็จะสลายไป  นั่นก็แปลว่าเราก็จะลืมเรื่องนั้นไป การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ที่มีความเกี่ยวโยงกับความรู้หรือความจำเดิมที่ถูกเก็บไว้ตรงบริเวณรอย เชื่อมต่อใดๆ ก็จะมีผลทำให้รอยเชื่อมต่อบริเวณนั้นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไป ความรู้และความจำที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ จะส่งผลต่อความคิด วิธีคิด  ความฉลาด การใช้เหตุผล การตัดสินใจ และพฤติกรรมของคนเรา ซึ่งเขาได้สรุปไว้เป็นประโยคสั้นๆ ว่า
“การเรียนรู้ทำให้เราเป็นอย่างที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้”
หรือ  “We are who we are because of what we have learned and remembered.”
ดังที่ได้กล่าวถึงไว้ตั้งแต่แรก

ภาพวงจรของเซลล์สมอง

นอกจากนี้เขายังค้นพบว่าการเรียนรู้ที่เกิด ขึ้นนี้ มีอิทธิพลเหนือยีนหรือพันธุกรรม นั่นก็แปลว่าการที่คนเราจะฉลาดหรือไม่นั้น ปัจจัยทางพันธุกรรมไม่ได้เป็นตัวชี้ขาด ประสบการณ์ และการเรียนรู้ที่เราได้รับต่างหากคือปัจจัยสำคัญ

ภาพแสดงรอยเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง
การค้นพบนี้ทำให้เราสามารถนำเอาความรู้ที่ เคยมีอยู่แล้วหลายอย่างมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ในเรื่องโมเดลการเรียนรู้ของมนุษย์ หรือ Information Processing Model

ภาพ การประมวลผลของสมอง (Information Processing Model)


จากแนวคิดของInformation Processing Model ดังในภาพ เราจะเห็นว่าข้อมูลที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความรู้และความจำของเรานั้นถูกรับเข้ามาผ่านทางประสาทรับสัมผัสทั้งห้า ของเรา เกิดกระบวนการวิเคราะห์ ตีความ สังเคราะห์ และกลายเป็นความรู้สำหรับเราในที่สุด
การอ่านหนังสือ การได้ลองทำ การได้เห็น การได้สัมผัส การได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ล้วนก่อให้เกิดการเรียนรู้ ก่อให้เกิดความรู้ ความจำให้กับเราได้ทั้งสิ้น

เด็กได้อะไรจากการที่เรา “เล่านิทานอ่านหนังสือให้เขาฟัง”
                หากท่านพิจารณาภาพต่อไปนี้ แล้วตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็กบ้าง ท่านจะได้คำตอบว่าการที่เราเล่านิทาน อ่านหนังสือกับเด็ก
                การที่เด็กได้นั่งอยู่บนตัก และภายในอ้อมแขนอันอบอุ่นของแม่ ผลที่เกิดขึ้นก็คือเด็กจะรู้สึกถึงความรักที่แม่มีต่อเขา มันทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น เกิดความมั่นใจในตนเอง เกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ต้องการของแม่ หรือพ่อซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อชีวิตเขา ความรู้สึกเช่นนี้จะนำไปสู่ความรู้สึกไว้วางใจต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว นี่คือพื้นฐานอันสำคัญของการก่อเกิดบุคลิกภาพที่สมบูรณ์เมื่อเด็กเติบโตเป็น ผู้ใหญ่
เล่านิทาน อ่านหนังสือกับลูก


                ความสุขที่เกิดขึ้นจากการที่ได้นั่งอยู่บนตักภายในอ้อมกอดของแม่ฟังแม่อ่าน หนังสือให้ฟัง จะฝังตรึงอยู่ในความทรงจำของเด็กไปตลอด และด้วยความสุขที่ว่านี้แหละมันจะกลายเป็นแรงขับให้เด็กคนนี้เกิดความประทับ ใจในการอ่านหนังสือ เพราะการอ่านมันคือความสุข คือความทรงจำที่ฝังใจ สุดท้ายเขาจะกลายเป็นคนที่รักหนังสือ รักการอ่าน และรักการแสวงหาความรู้ไปตลอดชีวิต
                การที่แม่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ลูกจะได้ยินเสียงอ่าน ได้มองเห็นภาพประกอบ ได้มองเห็นตัวอักษรที่เป็นสัญญลักษณ์เพื่อแทนภาพนั้นๆ  สมองของเด็กจะทำหน้าที่เชื่อมต่อเสียงของแม่ ภาพที่มองเห็น รวมทั้งตัวอักขระที่ปรากฏอยู่เข้าด้วยกัน นี่คือการเกิดขึ้นของการรู้หนังสือ การเกิดภาษา ทั้งภาษาพูด ภาษาอ่าน และภาษาเขียนในคนเรา
                เรื่องราว และเนื้อหาที่ปรากฎในหนังสือจะถูกสมองเก็บรายละเอียดต่างๆ เข้าไป ผ่านการอ่าน เกิดกระบวนการวิเคราะห์และตีความ สุดท้ายมันก็กลายเป็นความรู้ของเด็กไป ความรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัว คุณธรรม จริยธรรม ประเพณีปฏิบัติ รูปแบบการดำเนินชีวิต ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือจะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นความรู้ในตัวเด็ก ทั้งหมดคือกระบวนการการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการอ่าน และความรู้ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ก็จะมีผลต่อความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมของเด็กต่อไป

การอ่านคือการเรียนรู้


                ในขณะเดียวกันความงดงามของภาษาที่ใช้ในหนังสือ  ความงามของภาพ ความงามของเรื่องราวต่างๆ ในหนังสือก็จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดความประทับใจ และนำไปสู่การพัฒนาจิตใจของเขาให้เป็นผู้ที่ยึดมั่นในความงาม ความจริง และความดีของชีวิต


ผู้ใหญ่ได้อะไรจจากการเล่านิทานอ่านหนังสือให้เด็กฟัง
                หากการสร้างสมาชิกรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพที่สมบูรณ์คือหน้าที่ของผู้ใหญ่อย่าง เรา “การเล่านิทานอ่านหนังสือให้ลูกฟัง”ก็คือเครื่องมือที่ช่วยให้ภาระกิจอันนี้ ของเรามีความสมบูรณ์ขึ้น หากลูกหลานของเรารักการอ่าน รักที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง เขาก็สามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อลูกหลานมีคุณภาพนั่นก็คือหลักประกันในอนาคตของเราเองหากถึงเวลาที่เรา จะต้องพึ่งพาพวกเขา
                การเล่านิทานอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ทำให้เราได้ใกล้ชิดลูกมากขึ้น ทำให้ครอบครัวของเรามีความอบอุ่น
                การเล่านิทานอ่านหนังสือให้ลูกฟัง คือโอกาสที่ช่วยให้เราได้ฝึกฝนและกระตุ้นสมองของเราอยู่เสมอ สมองก็ไม่แตกต่างจากกล้ามเนื้อที่จำเป็นจะต้องใช้งานอย่างสม่ำเสมอ หากไม่มีการใช้งาน กล้ามเนื้อของเราก็จะฝ่อลีบ และสมองก็เช่นกัน การได้อ่านหนังสือและเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ลูกฟังทุกวันจึงเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นสมองของเราให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ อยู่ตลอดเวลา

ขอขอบคุณที่มาจาก รักลูกกรุ๊ป

ที่มา : http://www.happyreading.in.th/article/detail.php?id=1689

“พิธีวิวาห์ใต้สมุทร” ปี 2557

หอการค้า จังหวัดตรัง ร่วมกับ จังหวัดตรัง, เทศบาลนครตรัง, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริม การท่องเที่ยวภายใต้ชื่อ “พิธีวิวาห์ใต้สมุทร” ปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่ 18 ขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อฉลองเทศกาลวันแห่งความรัก ณ จ.ตรัง ที่มีทิวทัศน์เกาะ และบรรยากาศที่สงบนิ่งของทะเลตรัง รายล้อมทั่วบริเวณที่จัดงานพิธี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัด และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ให้นักท่องเที่ยวรู้จักตรัง ที่เป็นเมืองที่มีความงดงามของท้องทะเล ดินแดนแห่งความรัก มีมนต์เสน่ห์สำหรับท่องเที่ยว ภายใต้ concept ของ “Romantic Destination”
 เชิญเที่ยวงานพิธีวิวาห์ใต้สมุทร 2014
จังหวัดตรังเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ ชวนให้ผู้คนหลงใหลกับความงดงามที่ธรรมชาติบรรจงแต่งแต้ม ทั้งป่า เขาที่สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด เถื่อนถ้ำที่ละลานตาไปด้วยหินงอกหิน ย้อย สุดแท้แต่ผู้คนจะ จินตนาการ น้ำตกที่ไหลรินออกจากขุนเขาเกิดเป็นสายน้ำอันฉ่ำเย็น ประกอบกับตรังเป็นดินแดนที่ติด ทะเลทางฝั่งอันดามันทอดเป็นแนวยาว จึงมีหาดทรายขาวสะอาด และดารดาษไปด้วยเกาะแก่ง เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังที่สวยงาม อันเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงปลาและสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ เป็นทั้งบ้าน และที่หลบภัยในยามมรสุม ซ่อนความงดงามของธรรมชาติไว้ ยามเมื่อถึงช่วงเวลาที่ท้องฟ้าใสในเหมันต์ ฤดู ท้องทะเลสีเขียวมรกตอันสงบไร้คลื่นลมแปรปรวน ท่ามกลางความสดชื่นของมวลหมู่พันธุ์ไม้และ สรรพสัตว์ บรรยากาศของเมืองตรังในยามนี้ยิ่งมีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ โดย เฉพาะช่วงนี้ ของทุกปีเป็นห้วงเวลาที่ดอกศรีตรังกำหลังผลิดอกสีม่วงสดใส พร้อมเผยโฉมต้อนรับให้ผู้คนได้เดินทาง เข้าไปสัมผัสและชมความงดงาม
จุดเริ่มต้น ย้อนกลับไปเมื่อต้น ปี 2539 จังหวัดตรังเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกในฐานะที่ได้สร้างตำนานรักอัน ยิ่ง ใหญ่เป็นครั้งแรกของโลก ภายใต้ท้องฟ้าสีครามและทะเลสีเขียวมรกตที่สวยงามของทะเลเมืองตรัง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นความประทับใจมิรู้ลืมของคู่รักหนุ่มสาวนักดำน้ำ คู่หนึ่งที่หลงใหลความงดงามของ โลกใต้ท้องทะเลและจากกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ใต้ท้องทะเลใน โครงการคืนธรรมชาติสู่แหล่งปะการัง ครั้งที่ 1 เป็นเสมือนสายใยแห่งรักของหนุ่มสาวที่เริ่มก่อตัวขึ้น จนแน่นแฟ้นครั้งนั้น นำไปสู่พิธีวิวาห์ใต้สมุทรที่โด่งดังไปทั่วโลกวันนี้
พิธีวิวาห์ใต้สมุทร เกิดขึ้นโดยการริเริ่มของคุณยงยุทธ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังในขณะนั้น และคุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานหอการค้าจังหวัดตรังในสมัยนั้น ได้ร่วมกันบันดาลความฝันของคู่รัก ให้เป็นจริงโดยได้จัดให้มีการจดทะเบียนสมรสใต้ทะเลในชื่อ “พิธีวิวาห์ใต้สมุทร” ซึ่งพิธีที่จังหวัดตรัง ได้จัดขึ้น นอกจากจะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและจังหวัดในฐานะที่จัดพิธีจดทะเบียน สมรสใต้สมุทร เป็นแห่งแรกในโลกแล้ว ในปีต่อ ๆ มายังได้สร้างชื่อเสียงจนได้รับการบันทึกเป็นสถิติโลกในหนังสือ กินเนส เวิลด์ เรคคอร์ด (Guinness World Records) ว่าเป็นวิวาห์ใต้สมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในฐานะ ที่มีคู่สมรสเข้าร่วมแต่งงานใต้น้ำมากที่สุด และยังเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้เข้าร่วมในพิธีด้วยซึ่งเมื่อถึง เทศกาลวันแห่งความรักจะมีการจัดพิธีดังกล่าว เรียกว่าเป็นประเพณีของจังหวัดตรัง หนุ่มสาวคู่รักมาก มายต่างหมายจะได้ไปเยือน เพื่อเติมเต็มความรักให้แก่กัน และร่วมสร้างความประทับใจ ในดินแดนที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายแห่งความรัก
พิธีวิวาห์ใต้สมุทร เป็นการเผยแพร่พิธีแต่งงานที่งดงามแบบไทยให้นักท่องเที่ยว คู่รักและนักดำน้ำ ชาวต่างประเทศที่สนใจได้เข้าร่วมงาน โดยนำเสนอความเป็นไทยแท้ เริ่มตั้งแต่พิธีทาง ศาสนา พิธีแห่ขันหมาก พิธีรดน้ำสังข์ พิธีการส่งตัวเข้าหอ โดยยึดคติความเชื่อที่ว่า ต้องมีคู่รักที่อยู่ร่วมกันจนแก่เฒ่ามาทำพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคล แม้แต่การแต่งกายของคู่บ่าวสาวที่เน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย ใช้ผ้าไทยนำมาตัดเย็บซึ่งจะสร้างความประทับใจให้กับคู่บ่าวสาวทุกคู่ที่ได้ เข้าร่วมงาน คู่รักที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานจดทะเบียนสมรสใต้สมุทร เช่น คู่ของคุณศึกษา ลักษณะพริ้ม เลขานุการสมาคมกีฬาคนตาบอดแห่งประเทศไทยและภรรยา ได้เปิดเผยถึงความประทับใจ ที่มิอาจลืมเลือนว่า “ผมเป็นคนจังหวัดตรัง ตนและภรรยาได้ใช้ชีวิตร่วมกันมานาน แต่ยังไม่มีโอกาสจัดพิธีแต่งงาน และสนใจอยากเข้าร่วมงานวิวาห์ใต้สมุทรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต จึงได้เข้าร่วมงานวิวาห์ใต้สมุทร โดยได้ฝึกการดำน้ำอย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัย สร้างความประทับใจเป็นอย่างมาก และรู้สึกยินดีที่งานวิวาห์ใต้สมุทรได้เปิดโอกาสให้คนพิการได้เข้าร่วม กิจกรรมนี้ เป็นการให้ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันที่สำคัญรู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนบำเพ็ญ ประโยชน์ในการส่งเสริม และสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดตรังในขณะเดียวกันพิธีวิวาห์ใต้สมุทรยัง เปิดโอกาสให้คู่รักที่เคย แต่งงานกันเมื่อปีก่อนๆ มาร่วมงานซึ่งเป็นเหมือนการฮันนีมูนและสร้างประสบการณ์ให้กับครั้งหนึ่งใน ชีวิต รวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่รักการท่องเที่ยวและการดำน้ำ สามารถเดินทางมาในร่วม ฉลองเทศกาลแห่งความรัก และสัมผัสกับบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความรักและความงดงามของท้องทะเลตรัง
 เชิญเที่ยวงานพิธีวิวาห์ใต้สมุทร 2014

 เชิญเที่ยวงานพิธีวิวาห์ใต้สมุทร 2014

 เชิญเที่ยวงานพิธีวิวาห์ใต้สมุทร 2014

12974087821297408799l

ที่มา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

ที่มา : http://www.tlcthai.com/travel/21112/

สยามคือบ้านของเรา...อ่านแล้วจะรักเมืองไทย ไปแล้วจะรักเมืองตรัง

สยามคือบ้านของเรา...อ่านแล้วจะรักเมืองไทย ไปแล้วจะรักเมืองตรัง


ทะเบียนรถ ตร. คือตรัง
          ผมไม่แน่ใจว่ามีกี่คนอ่านหนังสือเล่มนี้
          หนังสือเล่มนี้ชื่อ"สยามคือบ้านของเรา" แปลจากหนังสือชื่อ Siam Was Our Home ซึ่งเขียนโดย Mary Bulkley Stanton ลูกสาวคนที่ 6 ของ Edna Bruner Bulkley
          Mary เขียนหนังสือเล่มนี้เพราะพี่ชายบอกว่า พบบันทึกและภาพที่แม่(แหม่มเอ็ดน่า) ถ่ายภาพและเขียนถึง"สยาม"ในช่วงที่เธอมาอยู่เมืองไทย โดยเธอมาสมัยรัชกาลที่ 5 และมีชีวิตอยู่ในประเทศสยามถึง 5 แผ่นดิน โดยเธอเล่าถึงชีวิตของเธอตั้งแต่ออกเดินทางมาถึงประเทศสยาม มาสอนที่โรงเรียนวังหลัง (ปัจจุบันคือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) แล้วย้ายไปสอนที่จังหวัดเพชรบุรี (โรงเรียนที่เธอสอนปัจจุบันคือโรงเรียนอรุณประดิษฐ)
          จากนั้นเธอแต่งงานแล้วย้ายไปมีครอบครัวและช่วยสามีอยู่ที่โรงพยาบาลในจังหวัดตรัง
          ในหนังสือเล่มนี้ แหม่มยังได้กล่าวถึงบุคคลสำคัญมากมาย ทั้งพระมหากษัตริย์ไทยหลายรัชกาล พระธิดาในพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ปลัดเมืองเพชรบุรี สมุหเทศาภิบาลภาคใต้ มิสโคล ครูใหญ่โรงเรียนวังหลังในสมัยนั้น ดร.เอกิ้น ผู้ก่อตั้งและครูใหญ่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน คุณหมอเนลสัน เฮส์ แพทย์ใหญ่ประจำกรมการแพทย์ทหารเรือไทย ไปจนถึงขุนโจรชื่อดังในบทบาทนอกตำราประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด เธอเล่าทุกอย่างได้ดี
          ความรักใน"สยาม"ของเธอ ทำให้เธอตัดสินใจอยู่ที่"สยาม"และเขียนบันทึกจนกลายเป็นหนังสือชื่อ Siam Was Our Home นั่นแหละ
          มีคนบอกว่า แหม่มเอ็ดน่า มาอยู่เมืองไทยสมัยเดียวกับ"แหม่มแอนนา" คนเขียนเรื่อง The King and I แต่ทำไมเรื่องราวของแหม่มทั้ง 2 คนถึงแตกต่างกันราวกับคนละยุค คนละสมัย และคนละประเทศ
          "ฉันคิดว่า..เมืองตรังเป็นเมืองที่สวยที่สุดในสยาม"
          นี่คือข้อความที่ Edna Bruner Bulkley บันทึกไว้ เมื่อเธอแต่งงานกับคุณหมอชื่อ Dr. L.C. Bulkley และได้ย้ายไปอยู่ในจังหวัดตรัง
          สำหรับความเกี่ยวข้องของแหม่มเอ็ดน่าและสามี จากประวัติ"คริสตจักรตรัง" ผมขอสรุปว่า จังหวัดตรังเป็นหัวเมืองอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีประชากรหลายพวกหลายเหล่ามาอาศัยอยู่ ทั้งคนอินเดีย มาเลเซีย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามได้อยู่รวมตัวกันเป็นหมู่บ้านตามอำเภอต่างๆ มีสุเหร่าหลายแห่ง และคนจีนที่เดินทางเรือจากประเทศจีนเข้ามาทางแม่น้ำตรังมาขึ้นที่ตำบลแห่ง หนึ่ง ซึ่งต่อมาเรียก "ท่าจีน"
          ก่อนหน้านั้น นอกจตากพุทธและอิสลามแล้ว ยังไม่มีการเผยแพร่คริสต์ศาสนา จนกระทั่ง Mr. John Carrington ซึ่งทำงานกับสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกัน (Ameriean Bible) เดินทางมาจังหวัดตรังในปีค.ศ. 1905 และเมื่อ Dr. & Mrs.Gugene P. Dunlop มาเที่ยวจังหวัดตรัง ก็ได้รับมอบเงิน 3,000 ดอลล่าห์ จากข้าหลวงเมืองตรังเพื่อสร้างโรงพยาบาลทับเที่ยง จังหวัดตรัง
          Dr. G.P. Dunlop จึงมีเสนอให้คณะมิชชั่นนารีมาเปิดสถานประกาศที่ตำบลทับเที่ยง ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการประกาศคริสต์ศาสนาในจังหวัดตรังโดยมิชชั่นนารี ชาวอเมริกัน และมี Dr. L.C. Bulkley มาประจำสถานประกาศและเตรียมสร้างโรงพยาบาลทับเที่ยง
          นั่นคือจุดเริ่มต้นที่"แหม่มเอ็ดน่า"มาอยู่เมืองตรัง เพราะสามีอยู่เมืองตรัง
          และเธอหลงรักเมืองที่เธอเขียนว่า "ฉันคิดว่า..เมืองตรังเป็นเมืองที่สวยที่สุดในสยาม"
คุณชวน..วันเป็นประธานเปิดตัวหนังสือเล่มนี้

พี่มะอึกกับท่านผู้ว่าฯ

          ทริปโอเคไปตรัง..กลับมาแล้ว
          ผมเชื่อว่าคนที่ไปร่วมกันครั้งนี้"อิ่มท้อง"กับอาหารเช้าและเที่ยง ที่มี"หมูย่าง"เป็นตัวประกอบหลัก และ"อิ่มตา"กับการได้แวะชมสถานที่สำคัญบางแห่ง ซึ่งน่าเสียดายที่สภาพดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจ จึงอดไปหลายจุด เช่น ยางพาราต้นแรกที่ผมเขียนถึง
          อย่างไรก็ตาม ทริปโอเคก็ถือว่า"โชคดี" ที่ได้มีโอกาสเข้าไปพบ "ธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล" ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ในฐานะ"รุ่นพี่"ของพี่มะอึก และได้ซึมทราบว่า"ตรัง"ถูกยกเป็นเมืองที่(คน)มีความสุขมากที่สุด
          ผมก็เหมือนพี่มะอึก ...นั่งอ่านที่ทุกคนเขียนถึงก็มีความสุข
          ขนาดไปแค่วันสองวัน ยังมีความสุขขนาดนี้
          ลองนึกดูสิ ถ้าอยู่นานจะมีความสุขขนาดไหน
          ไม่เชื่อ...กลับไปอ่านหนังสือที่ผมเขียนถึง ที่คุณชวน หลีกภัย เป็นประธานเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ ยัง"ชอบ"ถึงขนาดมีคึนบอกว่า ท่านซื้อถึง 400 เล่มเพื่อไปแจกคนอื่นให้รู้ว่า"เมืองตรัง"...น่าอยู่แค่ไหน




โดย ลูกเสือหมายเลข9
 ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=880591

ไล่ตงจิ้น ลูกขอทาน ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต

แนะนำหนังสือน่าอ่าน

ไล่ตงจิ้น ลูกขอทาน ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต

ไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต Beggar child ผู้แต่ง: ไล่, ตงจิ้น
“ไล่ตงจิ้น ลูกขอทาน ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต” เล่มนี้ เป็นอัตชีวประวัติของอดีตขอทานที่ทุกคนเคยเย้ยหยัน มีพ่อตาบอด แม่กับน้องชายคนโตปัญญาอ่อน ทั้งหมด 14 ชีวิตที่เขาต้องเลี้ยงดู เขาต่อสู้กับชีวิตจนได้เป็น “บุคคลดีเด่นของไต้หวัน” เพราะใจที่ไม่ยอมแพ้เพียงคำเดียว ผู้ที่หมดกำลังใจ ท้อแท้กับชีวิต มีปัญหาในการเรียนหรือการงาน นั้นเป็นเศษเสี้ยวหนึ่งของความลำบากที่เจ้าของผลงานเขียนเล่มนี้ต้องเผชิญ เขามีชีวิตอย่างไร เขาสู้เช่นไร และประสบความสำเร็จได้ในลักษณะใด เนื้อหาในเล่มจะช่วยไขปัญหานั้นได้เป็นอย่างดี แล้วคุณจะได้คำตอบมากมายในการดำเนินชีวิตจากหนังสือเล่มนี้…หากคุณถามถึงรส ชาติของการเป็นขอทาน ผมบอกได้เพียงว่ามันคือน้ำตาที่ขมปร่าที่สุดในชีวิตมนุษย์ หากคุณถามผมถึงรสชาติของความสุข ผมก็จะบอกว่ามันคือการไม่ต้องทนหิว ไม่ต้องทนหนาว คนในครอบครัวได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าอย่างร่มเย็นเป็นสุข


ที่มา : http://www.หนังสือน่าอ่าน.com/?p=37#more-37

วันตรุษจีน

วันตรุษจีน 2557 ประวัติวันตรุษจีน

ตรุษจีน
          วันตรุษจีน 2557 หรือ ตรุษจีน 2014 ตรงกับวันศุกร์ที่ 31 มกราคม วันตรุษจีน และวันนี้เรามี บทความวันตรุษจีน 2557 มาฝาก ทั้ง ประวัติวันตรุษจีน วันไหว้ตรุษจีน 2557 วันเที่ยวตรุษจีน และวันจ่าย2557 ตรงกับวันที่เท่าไหร่ มาดูกัน

          ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป สำหรับปี 2557 นี้ วันตรุษจีนตรงกับวันที่ 31 มกราคม
          สำหรับที่มาของวันตรุษจีน นั้น เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า "ซุ่ย" ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า "เหนียน" หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

          นอกจากนี้ วันตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง

          ส่วนการกำหนดวันตรุษจีนนั้น ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ส่วนวันที่ 1 เดือน 1 คือวันชิวอิก หมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ
          การเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) โดยผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ภายในบ้าน ทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ

          จากนั้นครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น เช่น กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งความโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาหร่าย จะนำความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร หลังจากทานอาหารค่ำแล้ว ทุกคนในครอบครัวจะนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
ตรุษจีน
          นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของ วันตรุษจีน คือ "อั่งเปา " ซึ่งมีความหมายว่า "กระเป๋าแดง" หรือจะใช้คำว่า "แต๊ะเอีย" ซึ่งมีความหมายว่า "ผูกเอว" จากที่คนสมัยก่อนชอบร้อยเงินเป็นพวงผูกไว้ที่เอว โดยการให้อั่งเปานี้ คู่แต่งงานจะให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว จะออกมาจากบ้านเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ในหมู่ญาติ และด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) 
วันตรุษจีน 2557
          สำหรับ วันตรุษจีน 2557 นี้ ตรงกับวันศุกร์ ที่ 31 มกราคม 2557 นั่นเอง ซึ่งวันตรุษจีนไม่ถือเป็นวันหยุดราชการนะ แต่ตามบริษัทห้างร้านของคนจีนอาจจะอนุญาตให้ลูกจ้างได้หยุดพักผ่อนอยู่กับ บ้าน ถือเป็นวันหยุดพักผ่อนพิเศษสำหรับคนจีน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าบริษัทไหน หรือร้านไหนจะกำหนดให้หยุดได้กี่วัน

วันจ่ายตรุษจีน 2557 
 

          ตาม ธรรมเนียมของคนจีนแล้ว วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก จะเป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปหาซื้ออาหาร ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ มาเตรียมพร้อมไว้ ก่อนที่ร้านค้าต่าง ๆ จะหยุดยาวในช่วงวันตรุษจีน ซึ่งจะตรงกับวันก่อนวันสิ้นปี โดยในปี 2557 นี้ วันจ่ายตรุษจีนคือวันพุธ ที่ 29 มกราคม   

  วันไหว้ตรุษจีน 2557

          วัน ไหว้ของเทศกาลตรุษจีนก็คือ "วันสิ้นปี" ซึ่งจะเป็นวันที่มีการไหว้เทพเจ้าต่าง ๆ ด้วยอาหาร ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ ฯลฯ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ โดยในปี 2557 นี้ วันไหว้ตรุษจีน  คือ วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม 

วันเที่ยวตรุษจีน 2557

          วัน เที่ยวสำหรับชาวจีนก็คือ "วันปีใหม่" หรือ "วันตรุษจีน" ซึ่งวันเที่ยวตรุษจีน 2557 คือ วันศุกร์ที่ 31 มกราคม นั่นเอง และเป็น "วันถือ" ด้วย โดยในวันนี้ชาวจีนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงาม พากันออกไปท่องเที่ยว และไปไหว้ขอพรญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพรัก ชาวจีนจะถือว่าวันนี้เป็นวันแห่งสิริมงคล และงดทำบาปทั้งปวง




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- thai.cri.cn
- abhidhamonline.org
- thaigoogleearth.com
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บ้านหนังสืออัจฉริยะ

โครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้

1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่จะเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบในปี พ.ศ. 2558
1.2 เพื่อกระตุ้นและเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกล
1.3 เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบบ้านหนังสือ อัจฉริยะหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” และองค์ความรู้ที่สนใจได้อย่างต่อเนื่อง
2. เป้าหมาย
2.1 บ้านหนังสืออัจฉริยะหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่ปกติทั่วประเทศ จำนวน 40,000 แห่ง
2.2 บ้านหนังสืออัจฉริยะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 1,800 แห่ง
2.3 ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จำนวน 87 แห่ง
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1 สำรวจ และจัดทำฐานข้อมูลความสนใจ ความต้องการด้านการอ่านของประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ตลอดจนศึกษาสภาพการเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ของประชาชนหรือผู้รับบริการใน แต่ละหมู่บ้าน
3.2 สำรวจข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดตั้งบ้านหนังสืออัจฉริยะในหมู่บ้าน/ชุมชน ตลอดจนจัดทำเกณฑ์การคัดสรรสถานที่ที่จะใช้เป็นที่ตั้งบ้านหนังสืออัจฉริยะ ประจำหมู่บ้าน/ชุมชน
3.3 จัดตั้งบ้านหนังสือในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเป็นห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน และจัดหาสื่อสิ่งพิมพ์รายวัน นิตยสารรายสัปดาห์ นิตยสารรายปักษ์ หนังสือ และสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ให้กับบ้านหนังสืออัจฉริยะและห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ที่เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่
3.4 ดำเนินการจัดกิจกรรม และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างนิสัยรักการ อ่านให้เข้าถึงทุกครอบครัวในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งการช่วยกันดูแลรักษาห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” และพัฒนาบ้านหนังสือหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชนให้เป็นบ้านหนังสือ เสริมสร้างอัจฉริยภาพของประชาชนอย่างยั่งยืน
3.5 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านในฐานะที่เป็นกิจกรรม พื้นฐานในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพส่วนบุคคล  และความเข้มแข็งของชุมชนและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการดำเนิน กิจกรรมบ้านหนังสือหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน และห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”
3.6 นิเทศ ติดตาม สรุป และรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง


4. ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม 2555-กันยายน 2556

ที่มา : 
http://202.143.134.201/pranee/?name=news1&file=readnews&id=80

ความเป็นมาของบ้านหนังสืออัจฉริยะ

บ้านหนังสืออัจฉริยะกศน.กระจายความรู้

'บ้านหนังสืออัจฉริยะ'กศน.ดอกเห็ดเล็กๆกระจายความรู้สู่ชุมชน : โดย...สุพินดา ณ มหาไชย

               "บ้าน หนังสืออัจฉริยะ" ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เร่งตั้งขึ้นตามหมู่บ้านต่างๆ ให้ครบ 41,800 แห่ง ภายในปี 2556 นั้น แต่ละแห่งจะได้รับงบประมาณสำหรับจัดซื้อหนังสือพิมพ์รายวันจำนวน 2 ฉบับต่อวัน หนังสือนิตยสารรายสัปดาห์ เดือนละ 4 ฉบับ หนังสือนิตยสารรายปักษ์ เดือนละ 2 ฉบับ นอกจากนั้น เครือข่ายของ กศน.ในพื้นที่จะระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจัดหาหนังสืออื่นๆ มาให้เพิ่มเติมด้วย ถ้าเป็นตามนี้ "บ้านหนังสืออัจฉริยะ" จะเป็นเช่นดัง "ดอกเห็ด" ที่ผุดขึ้นถ้วนทั่วทุกชุมชน เพื่อเป็นเครื่องมือเล็กๆ แต่ใกล้ตัวประชาชน สำหรับพัฒนานิสัยรักการอ่านให้แก่ผู้คนทุกเพศทุกวัย
                 ป้าทองลั่น นามกูล วัย 65 ปี เปิดบ้านชั้นเดียวที่พักอาศัยอยู่เป็น บ้านหนังสืออัจฉริยะ ใน ต.บ้านกล้วย อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
                ก่อนหน้านี้บ้านของ ป้าทองลั่น ก็ให้บริการเล็กๆ น้อยๆ ในด้านนี้อยู่แล้ว เพราะความที่ ป้าทองลั่น เป็นคนชอบอ่านหนังสือมาแต่ไหนแต่ไร บ้านแห่งนี้จึงรับหนังสือพิมพ์มาไม่เคยขาดตั้งแต่ปี 2519 ซึ่งหนังสือพิมพ์ราคาแค่ 1 บาท บางครั้งก็รับนิตยสารด้วย อย่างเช่น ขวัญเรือน กุลสตรี 
                ชาวบ้าน เด็กๆ ในหมู่บ้าน จึงมาอาศัยอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสารที่บ้านแห่งนี้เป็นประจำ บ้านป้าทองลั่น กลายเป็นแหล่งพบปะย่อมๆ ของในหมู่บ้าน เมื่อ กศน.ทำโครงการส่งเสริมการอ่านก็ได้นำหนังสือบางส่วนมาประจำไว้ที่บ้านหลัง นี้ และในที่สุด คุณป้าทองลั่น ซึ่งปัจจุบันเป็นนักเรียนของ กศน.ระดับ ม.ต้น อยู่ ได้ตัดสินใจเข้าร่วม โครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ เปลี่ยนบ้านตัวเองให้เป็น "คลังปัญญาของชุมชน"  
                "หนังสือเป็นประโยชน์ต่อคนทุกเพศทุกวัย บางคนไม่มีโอกาสได้เรียนสูงๆ ก็ได้อาศัยหนังสือเป็นตัวเพิ่มพูนความรู้ให้เจ้าตัว อย่างที่หมู่บ้านนั้น คนที่มาอ่านหนังสือเป็นประจำ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ อยู่บ้านว่างๆ ไม่มีอะไร ก็จะมาขอยืมหนังสือไปอ่าน ทำให้ได้ความรู้ต่างๆ เพิ่มเติม เช่น เรื่องใกล้ตัวอย่าง พืชผัก สมุนไพร พวกเขาก็ได้ความรู้เพิ่มเติมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้" ป้าทองลั่น กล่าวและว่า ถ้ามีห้องสมุดอยู่ในชุมชนจะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้คนไทยได้มากขึ้น และวิธีปลูกฝังนิสัยรักการอ่านที่ดีสุดให้แก่เยาวชน คือ การทำเป็นตัวอย่าง ทุกวันนี้หลานชายที่อยู่ ป.1 ชอบอ่านหนังสือ อ่านเขียนได้คล่อง เพราะเขาเห็นทุกคนในบ้านอ่านหนังสือมาตั้งแต่เขาเล็กๆ จึงซึมซับและกลายเป็นคนรักการอ่านตาม
                ประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน. กล่าวว่า กศน. ได้จัดทำโครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ เพื่อให้เป็นห้องสมุดประจำหมู่บ้านสำหรับประชาชน ช่วยส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านบ้านหนังสืออัจฉริยะ ยังช่วยการกระจายโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้ ข่าวสารได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวางด้วย ช่วงแรกมีเป้าหมายจัดตั้งบ้านหนังสืออัจฉริยะในพื้นที่ปกติ 4 หมื่นหมู่บ้าน จาก 8 หมื่นหมู่บ้านและจัดตั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา 1,800 แห่ง
                "โดยได้สนับสนุนงบประมาณแห่งละ 11,500 บาท เพื่อจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด นอกจากบ้านหนังสืออัจฉริยะจะเป็นแหล่งจัดกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการ อ่านหนังสือ กิจกรรมอื่นๆ เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ มีกิจกรรมนั่งวิปัสสนา นั่งสมาธิ กิจกรรมสร้างรายได้ รวมถึงเป็นสถานที่จัดอบรมฝึกอาชีพด้วย" เลขาธิการ กศน.กล่าวด้วยรอยยิ้ม
                ประเสริฐ บอกด้วยว่า เมื่อบ้านหนังสืออัจฉริยะเฟสแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในปี 2557 กศน.จะจัดตั้งบ้านหนังสือในอีก 4 หมื่นหมู่บ้านที่เลือกที่สุดแล้ว ทุกหมู่บ้านจะมีห้องสมุดขนาดย่อมนี้ครบทุกแห่ง
                พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันความสำคัญของการอ่านหนังสือว่า มีหลายคนที่ได้ดีจากการอ่านหนังสือเพียงเล่มเดียว เป็นการอ่านหนังสือที่ช่วยเปลี่ยนชีวิต อีกทั้งปัจจุบันแม้จะมีเทคโนโลยีไฮเทคต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน ไอแพด แท็บเล็ต แต่หนังสือก็ยังมีความสำคัญอยู่ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถหาความรู้และรับข้อมูลข่าวสารจากเทคโนโลยีได้ ความรู้ต่างๆ ในหนังสือก็ไม่ได้มีอยู่ในอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ครบทั้งหมด
                “กระทรวงศึกษาฯ หวังว่า จะมีผู้มีจิตศรัทธายอมเปิดบ้านตนเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ทำให้สาธารณชนได้เห็นประโยชน์ของการอ่านและกิจกรรมเหล่านี้ โดยช่วยกันบริจาคหนังสือเข้ามาเยอะๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ของคนไทย และสอดคล้องกับนโยบายที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนเรียนรู้ตลอดชีวิต“ รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

('บ้านหนังสืออัจฉริยะ'กศน.ดอกเห็ดเล็กๆกระจายความรู้สู่ชุมชน : โดย...สุพินดา ณ มหาไชย)

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

พะยูน (Dugong dugon)


ทรัพยากรสัตว์ทะเลหายาก - พะยูน

     พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อาศัยอยู่ในทะเล เชื่อว่าพะยูนเคยอาศัยหากินอยู่บนบก และมีบรรพบุรุษที่ใกล้เคียงกับบรรพบุรุษของช้าง เมื่อราว 55 ล้านปีมาแล้วสายพันธุ์ของพะยูนได้วิวัฒนาการลงไปอยู่ในน้ำและไม่กลับขึ้นมา อยู่บนบกอีกเลย เช่นเดียวกับพวกโลมาและปลาวาฬ

     พะยูน (Dugong dugon) มีลำตัวรูปกระสวยคล้ายโลมา ลำตัวมีสีเทาอมชมพูหรือน้ำตาลเทา สีของส่วนท้องอ่อนกว่า พะยูนมีขนสั้นๆประปรายตลอดลำตัวและมีขนเส้นใหญ่อยู่อย่างหนาแน่นบริเวณปาก มีตาและหูขนาดเล็กอย่างละคู่ ส่วนของหูเป็นรูเปิดเล็กๆไม่มีใบหู มีรูจมูกอยู่ชิดกันหนึ่งคู่ รูจมูกมีลิ้นปิด-เปิด พะยูนหายใจทุก 1-2 นาที มีครีบด้านหน้าหนึ่งคู่อยู่สองข้างของลำตัวและมีติ่งนมอยู่ด้านหลังของฐาน ครีบ ครีบทั้งสองเปลี่ยนแปลงมาจากขาคู่หน้า ภายในครีบประกอบด้วยนิ้ว 5 นิ้ว ปกติพะยูนว่ายน้ำช้าด้วยความเร็ว 1.8-2.2 ก.ม./ช.ม. พะยูนมีกระดูกที่มีโครงสร้างแน่นและหนักซึ่งเหมาะกับวิถีชีวิตของพะยูนที่ อาศัยหากินอยู่ที่พื้น พะยูนไม่มีอาวุธป้องกันตัว มีเพียงลำตัวที่ใหญ่ มีหนังหนาซึ่งอาจป้องกันอันตรายจากการกัดหรือทำร้ายจากสัตว์อื่นเช่น ฉลาม เมื่อมีบาดแผลเลือดแข็งตัวได้เร็วมาก ส่วนลูกอ่อนจะอยู่กับแม่และอาศัยตัวแม่เป็นโล่กำบังที่ดี

     พะยูนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 9-10 ปีในทั้งสองเพศ ระยะตั้งท้องนาน 13-14 เดือน คลอดลูกครั้งละหนึ่งตัว ลูกแรกเกิดกินนมจากแม่พร้อมทั้งเริ่มหัดกินหญ้าทะเล และอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับแม่ตลอดเวลาเป็นเวลาประมาณปีครึ่งถึงสองปี ลูกพะยูนแรกเกิดยาว 1-1.2 ม. และหนัก 20-35 ก.ก. พะยูนตัวเต็มวัยมีความยาวประมาณสามเมตร ในขนาดความยาวเท่าๆกันตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย

 

พะยูนอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนบริเวณเส้นละติจูด 27o N ถึงละติจูด 27o S หรือจากด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกาถึงทวีปออสเตรเลีย ปัจจุบันยังพบว่ามีอยู่มากในรัฐควีนสแลนด์และทางด้านตะวันตกของประเทศ ออสเตรเลีย และปาปัวนิวกินี ส่วนในประเทศอื่นๆ จำนวนพะยูนลดลงอย่างมาก หรือสูญพันธุ์ไปแล้ว พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ กินเฉพาะพืชเป็นอาหาร (Herbivor) ซึ่งได้แก่หญ้าทะเล (Seagrass) ชนิดต่างๆ ตัวเต็มวัยกินหญ้าทะเลมากถึงวันละ 30 ก.ก. หรือประมาณ 8-10% ของน้ำหนักตัว
ข้อมูลชีววิทยา / ชนิดพันธุ์

     พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล เชื่อว่าพะยูนเคยอาศัยหากินอยู่บนบก และมีบรรพบุรุษที่ใกล้เคียงกับบรรพบุรุษของช้าง เมื่อราว 55 ล้านปีมาแล้วสายพันธุ์ของพะยูนได้วิวัฒนาการลงไปอยู่ในน้ำและไม่กลับขึ้นมา อยู่บนบกอีกเลย เช่นเดียวกับพวกโลมาและวาฬ พะยูนจัดอยู่ใน Order Sirenia มีอยู่ด้วยกัน 2 ครอบครัว (Family) คือ Dugongidae และTrichechidae แยกเป็น 2 สกุล (Genus) คือสกุล Dugong และสกุล Trichechus เหลืออยู่ 4 ชนิด (Species)

วงศ์ Dugongidae พะยูนวงศ์นี้มีหางที่เรียกว่า Fluke ลักษณะหางเป็นแฉกคล้ายหางโลมาจัดจำแนกเป็น 2 สกุล

  Hydrodamalis gigas หรือวัวสเตลเลอร์ (Steller'sea cow) สูญพันธุ์แล้ว
  Dugong dugon Muller, 1776


วงศ์ Trichechidae พะยูนในวงศ์นี้มีหางกลม หรือที่เรียกว่า "มานาตี" (Manatee) มีสกุลเดียวคือ Trichechus ซึ่งแยกออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน (Jefferson et al.,1993) คือ

  Trichechus manatus Linnaeus, 1758 (west Indian Manatee) (Eschscholtz, 1829)
  Trichechus inunguis Natterer, 1883 (Amazonian Manatee)
  Trichechus senegalensis Link, 1795 (West African Manatee)

อาหารในกระเพาะพะยูน


หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย (Cymodocea serrulata)
           สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ได้ศึกษาแยกชนิดของหญ้าทะเลในกระเพาะพะยูน ตัวอย่างพะยูนที่ได้รับมีหญ้าทะเลอยู่ในกระเพาะ 2-5% ของน้ำหนักตัว แม้ว่าจะพบว่าพะยูนไม่ได้เลือกกินหญ้าทะเลชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ แต่พะยูนจะกินหญ้าชนิดที่พบมากในแหล่งที่มันอาศัยหากินอยู่ ในแต่ละกระเพาะมีหญ้าทะเลปะปนอยู่ 5-6 ชนิด และสาหร่ายทะเลอีกจำนวนเล็กน้อย จากตัวอย่างทั้งหมดที่ศึกษาพบหญ้าทะเล 9 ชนิด (ในประเทศไทยมีหญ้าทะเล 12 ชนิด ) ได้แก่ หญ้าอำพัน หญ้าเงาใส หญ้าชะเงาหรือหญ้าคาทะเล กุ่ยช่ายทะเลกุ่ยช่ายเข็ม หญ้าชะเงาเต่า หญ้าชะเงาใบมน หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย และต้นหอมทะเล หญ้าทะเลที่พบมากในกระเพาะคือ หญ้าอำพันหรือหญ้าใบมะกรูด กุ่ยช่ายทะเล หญ้าชะเงาใบมนและใบฟันเลื่อย
    

หญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides)
    
หญ้าอำพัน หรือหญ้าใบมะกูด (Halophila ovalis)

การอนุบาลพะยูน

      ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รายงานการอนุบาลพะยูนในบ่ออนุบาลจากทั่วโลก พบว่าพะยูนเป็นสัตว์ที่อนุบาลได้ยากในบ่ออนุบาลหรือในที่ล้อมขัง มักอนุบาลอยู่ได้ไม่นานและตายในที่สุด พะยูนที่อนุบาลได้ระยะเวลาสั้นที่สุดเพียง 17 วันคือ ในประเทศออสเตรเลียเมื่อปี ค.ศ. 1968 ในประเทศอินเดียอนุบาลได้นาน 10 ปีกับ 10 เดือนในระหว่างปี ค.ศ. 1959-1970 ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการครองอันดับในการอนุบาลพะยูนในที่ล้อมขังได้ ยาวนานที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน(พ.ศ. 2547) คือ ที่ Toba Aquarium ประเทศญี่ปุ่นอนุบาลพะยูนสองตัวมานานกว่า 25 ปี และยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยให้พะยูนกินหญ้าทะเลชนิดหญ้าปลาไหล (Zostera marina) ซึ่งสั่งซื้อมาจากประเทศเกาหลี แต่อย่างไรก็ตาม Toba Aquarium ยังไม่ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์พะยูนในตู้อนุบาล ซึ่งผิดกับมานาตีที่อนุบาลง่ายและสามารถให้ลูกในตู้อนุบาลได้้

การอนุบาลพะยูนในประเทศไทย

     มีรายงานเฉพาะจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน (เดิมคือสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล) จ.ภูเก็ตเท่านั้น อนุบาลได้นาน 30-200 วัน นอกจากนี้ยังมีบันทึกว่ามีการอนุบาลลูกพะยูนอีก 2 ตัว คือในปี พ.ศ. 2525 ลูกพะยูนอนุบาลไว้ที่ศูนย์พัฒนาการเพาะอนุบาลสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.สตูล แต่ไม่ได้รายละเอียดแน่ชัดว่าอนุบาลนานเท่าใด เสียชีวิตหรือปล่อยคืนทะเล และอีกตัวหนึ่งเป็นลูกพะยูนติดอวนลอย ที่หาดเจ้าไหม เมื่อเดือนสิงหาคม 2538 และได้ปล่อยกลับกลับทะเลหลังอนุบาลไว้ในกระชังราว 20 วัน ลูกพะยูนที่อนุบาลชอบกินหญ้าอำพันหรือใบมะกรูด (Halophila ovalis)



พะยูนที่อนุบาลนาน 200 วัน ปี พ.ศ. 2534 ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยกรทางทะเลและชายฝัง จ.ภูเก็ต
 

พะยูนในตู้อนุบาลที่ Toba Aquarium ประเทศญี่ปู่น



เสียงของพะยูน

        การศึกษาเรื่องเสียงพะยูน (Acoustic voice of Dugong) สถาบันฯ ได้ทำวิจัยเรื่องเสียงพะยูนร่วมกับมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องระหว่างปี พ.ศ. 2546-50 ในการศึกษาเบื้องต้นได้มีการติดตั้ง Stereo Hydrophone ที่เรือสังเกตการณ์แต่ละลำ จำนวน 2 ลำ เพื่อบันทึกเสียงในน้ำและได้ทำการวิเคราะห์หาระดับความดังเสียง ระยะเวลาต่อเนื่อง และคลื่นความถี่กลางของเสียงร้องจากไฟล์เสียงที่ได้มาจากการบันทึกเสียง ขั้นตอนต่อไปเป็นการวิเคราะห์หาค่าต่างของเวลาที่มาถึงของเสียงร้องระหว่าง สองช่อง (Channel) และคำนวณทิศทางที่มาถึง (Arrival Bearing) ของเสียงร้อง ช่วงความถี่ของเสียงร้องของพะยูนอยู่ที่ 3-8 kHz และระยะเวลาต่อเนื่องแยกออกเป็นช่วงสั้นที่ 100-500 ms และช่วงยาวซึ่งมีเสียงร้องนานกว่า 1000 ms โดยประมาณ

ระยะเวลาห่างระหว่างการส่งเสียงร้องแต่ละครั้งมีสองแบบคือ ระหว่าง 0-5 วินาที และนานกว่า 2 วินาที ส่วนทิศทางที่มาถึงของเสียงร้องนั้นจะเปลี่่่ียนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของ พะยูนจากการคำนวณทิศทางที่ส่งมาถึงของเสียงร้องนั้น จะเปลี่่่่่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของพะยูนจากการคำนวณทิศทางที่ส่งมาถึง ของเสียงร้องเดียวกันจากหลายๆ จุดทำให้สามารถตรวจวัดตำแหน่งของพะยูนได้อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันกำลังผลิต voice data logger ที่สามารถทำการบันทึกในน้ำได้โดยอัตโนมัติและมีกำหนดจากที่จะสร้างเครือข่าว สำรวจพะยูนโดยใช้ logger ดังกล่าวนี้ Download เสียงพะยูน   
     

ความผูกพันระหว่างคนไทยกับพะยูน

การตั้งชื่อสถานที่ด้วยชื่อเรียกพะยูน



แสดงหน้าตาพะยูนที่ชัดเจน
 

แสดงหน้าตาพะยูนที่ชัดเจน


      ในบ้านเรามีชื่อเรียกพะยูนหลายชื่อด้วยกัน คือ หมูน้ำ หมูดุด ดูหยง เงือก วัวทะเล และดูกอง “พะยูน หรือปลาพะยูน” เป็นชื่อที่นิยมใช้ทั่วไปในประเทศไทย (บางแห่งอาจเขียนเป็น “พยูน พยูร”) ส่วนชาวปักษ์ใต้นิยมเรียกพะยูนว่า “ดูหยง หรือ ตูหยง” ซึ่งมาจากภาษามาเลเซียที่ใช้เรียกพะยูน (Duyong, sea pig หรือหมูทะเล) ในภาษาเขียนบ้านเราในบางแห่งอาจเพี้ยนไปเป็น “ดุยง ดุหยง ตุยง หรือตุหยง” และชาวใต้ยังเรียกพะยูนอีกชื่อหนึ่งว่า “หมูน้ำ” ซึ่งอาจมาจากลักษณะของเนื้อพะยูนที่มีสีสันและรสชาดคล้ายเนื้อหมู อีกนัยหนึ่งอาจมาจากรูปร่างที่อ้วนพร้อมทั้งมีขนตามลำตัวและลักษณะการกิน อาหารที่คล้ายหมูก็ได้

      สมัยก่อนพบพะยูนมากในทะเลไทยทั้งสองฝั่ง และคนไทยน่าจะมีความผูกพันกับพะยูนอย่างมากมาช้านานแล้ว อาจจะเป็นเพราะทั้งความน่ารักน่าสงสารของพะยูน การที่พะยูนเป็นสัตว์มีรูปร่างพิเศษ หรือมีเนื้อที่มีรสชาดดี รวมทั้งความเชื่อต่างๆ ที่มีเกี่ยวกับพะยูน หลักฐานความผูกพันของคนไทยกับพะยูน คือการนำชื่อที่ใช้เรียกพะยูนไปตั้งเป็นชื่อสถานที่ที่อยู่ติดกับชายฝั่ง ทะเล ได้แก่ คำว่า “พะยูน หมูดุด ตุหยง ดุหยง ตุยง” ชื่อสถานที่ต่างๆ เหล่านี้น่าจะถูกเรียกต่อๆ กันมานับร้อยปีแล้ว และในประเทศไทยคงไม่มีชื่อสัตว์ทะเลชนิดอื่นใดที่ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อสถาน ที่มากเท่าชื่อพะยูน และยังไม่พบรายงานจากที่อื่นที่กล่าวถึงการนำชื่อพะยูนไปตั้งเป็นชื่อสถาน ที่

      นอกจากนี้ในจังหวัดตรังหลังจากเกิดกระแสการอนุรักษ์พะยูน อย่างกว้างขวาง กอร์ปกับเป็นแหล่งที่มีพะยูนอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทย พะยูนกลายเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของจังหวัดในการอนุรักษ์ (Flagship species) เมื่อปี 2539 มีการนำพะยูนไปเป็นสัตว์นำโชคในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 29 หรือ “พะยูนเกมส์” มีรูปพะยูนหรือรูปปั้นพะยูนอยู่มากมาย เช่น รูปปั้นพะยูนคู่หนึ่งที่หน้าทางเข้าอควาเรียมของสถาบันราชมงคล รูปปั้นพะยูนที่ฉางหลางรีสอร์ท หุ่นสต๊าฟพะยูนที่อุทยานแห่งชาติเจ้าไหม ที่สถาบันราชมงคล และที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดตรัง มีร้านค้าและสำนักงานหลายแห่งในตัวเมืองตรังนำคำว่าพะยูนไปเป็นชื่อร้าน เช่น สำนักทนายความ ร้านอาหาร บริษัทท่องเที่ยว (พะยูนทราเวล) ร้านถ่ายรูป (พะยูนเอ็กซ์เพลส) มีรูปพะยูนตามป้ายต่างๆ เช่น ป้ายหน้าโรงเรียนปาตูดูเป๊ะบนเกาะตะลิบง ป้ายหน้าอุทยานแห่งชาติเจ้าไหม ข้างรถตุ๊กตุ๊ก เป็นต้น

คำเรียกชื่อพะยูนต่างๆ และการนำไปตั้งเป็นชื่อสถานที่ต่างๆ

เพลงพื้นบ้าน-รองเง็ง       ทางฝั่งทะเลอันดามันและมาเลเซียตอนบน มีเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า “รองเง็ง” หรืออาจเรียกว่าลิเกป่า มีการผูกเพลงเป็นครกหรือบท ยกย่องพะยูนว่ามีคุณค่า เปรียบเทียบความรักระหว่างชายหญิงเหมือนความรักของพะยูนแม่ลูก ตัวอย่างตอนหนึ่งของเพลงพื้นบ้านรองเง็ง “.....คิดถึงสาวกินข้าวไม่ลง ถูกเสน่ห์น้ำตาดูหยง กินข้าวไม่ลงคิดถึงเจ้าทุกเวลา.....” ชาวน้ำหรือชาวเล เล่าว่า หากเป็นน้ำตาพะยูนของแท้ใส่ไว้ในขวดจะมีการขึ้นลงเหมือนน้ำทะเล และน้ำตาพะยูนที่ได้ผลเป็นเลิศต้องมาจากลูกพะยูนที่ตามหาแม่ ปกติพะยูนแม่-ลูกจะมีความผูกพันกันมาก หากลูกพะยูนติดอวนหรือถูกจับไป แม่พะยูนจะเที่ยวตามหาลูกของมัน และชาวประมงก็มักจะจับแม่พะยูนได้อีกตัวในเวลาต่อมา กล่าวได้ว่าชุมชนชายฝั่งทะเลหรือชาวประมงพื้นบ้านมีความผูกพันรักใคร่พะยูน อย่างมาก จนนำมาร้อยเรียงเป็นเพลงร้อง เพื่อความบันเทิงใจในยามค่ำคืน หรือยามมีงานบุญในหมู่บ้าน

เรื่องเล่าขานเกี่ยวกับพะยูน : ตำนานการเกิดพะยูน       จากการสัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่ที่หมู่บ้านเจ้าไหม จ.ตรัง เล่าว่า เดิมทีพะยูนเป็นคน โดยเล่าว่า “มีสองสามีภรรยาที่อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเล ต่อมาภรรยาได้ตั้งท้องและอยากกินของแปลกๆ ตามธรรมชาติของคนแพ้ท้อง ภรรยาต้องการกินลูกหญ้าทะเล สามีก็ไปเก็บมาให้กินทุกวัน จนกระทั่งภรรยาท้องแก่ใกล้คลอด ลูกหญ้าทะเลที่สามีหามาให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของนาง นางจึงลงทะเลเพื่อไปเก็บลูกหญ้าทะเลกินเสียเองและมัวเพลิดเพลินกินอยู่จนลืม เวลาว่าน้ำกำลังขึ้น เมื่อถึงเวลาน้ำขึ้นเต็มที่นางจึงไม่สามารถกลับขึ้นมาได้ นางคงติดอยู่ในดงหญ้าทะเลนั้นเอง จนในที่สุดนางก็กลายร่างเป็นนางเงือกหรือพะยูน” บางคนเล่าเสริมว่า “สามีได้ตามลงไปในทะเลเพื่ออยู่กับภรรยาของตัวเอง แสดงให้เห็นถึงความรักของสามีภรรยาทั้งคู่”

ความเชื่อ


กระดูกพะยูนแกะเป็นรูปปลัดขลิกจำนวน 2 ชิ้น จาก จ.ภูเก็ต
        แม้ว่าราคาของเนื้อพะยูนดูจะสูงกว่าเนื้อหมู เป็ด และไก่ก็ตาม แต่เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่ของที่ยิ่งหามาด้วยความลำบากยากเย็นหรือมี น้อยเหลือเกิน มักถูกเชื่อว่ามีประโยชน์มหาศาล เนื้อพะยูนก็เช่นกัน ชาวบ้านเชื่อว่าการกินเนื้อพะยูนทำให้มีพลังและเป็นเหมือนยาอายุวัฒนะ เนื้อพะยูนนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกง ผัด ทอด เนื้อแดดเดียว และเนื้อเค็ม น้ำมันพะยูนใช้ทาแก้ปวดเมื่อยและแก้น้ำร้อนลวก น้ำตาเป็นยาเสน่ห์ ส่วนกระดูกฝนผสมกับน้ำมะนาวกินแก้พิษจากการถูกเงี่ยงหรือหนามของปลาแทง กระดูกใช้ทำเป็นเครื่องราง เขี้ยวทำหัวแหวน และหนังใช้ทำไม้เท้าในต่างประเทศ ก็มีความเชื่อเรื่องการใช้ประโยชน์จากชิ้นส่วนต่างๆของพะยูนเช่นกัน ชนพื้นเมืองในประเทศออสเตรเลียเชื่อว่าน้ำมันพะยูนใช้รักษาโรคต่างๆ ได้หลายโรค ในมาดากัสการ์เชื่อว่าน้ำมันพะยูนใช้รักษาโรคไมเกรนได้ หนังพะยูนใช้ทำเครื่องหนัง หรือนำไปต้มเคี่ยวจนได้กาว ส่วนเขี้ยวหรืองาพะยูนใช้ทำด้ามกริช เป็นของที่ระลึกหรือของฝาก





รูปพะยูนที่อยู่หัวเรือท่องเที่ยว
 

หัวแหวนที่ทำจากเขี้ยวพะยูน


จี้ห้อยคอทำจากฟันพะยูน
 

อวัยวะเพศผู้ของลูกพะยูนที่ตากแห้งเก็บไว้



ที่มา : http://www.dmcr.go.th/marinecenter/dugong.php

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

ต้นศรีตรัง ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง

ต้นศรีตรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง

ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง - ต้นศรีตรัง

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ตรัง

ชื่อพันธุ์ไม้

ศรีตรัง


ชื่อวิทยาศาสตร์

Jacaranda filicifolia D. Don.

วงศ์

BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น

แคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก

ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้ 



       

 

 

 

คำขวัญประจำจังหวัดตรัง

เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง
หมูย่างเลิศรส ถิ่นกำเนิดยางพารา
เด่นสง่าดอกสีตรัง ปะการังใต้ทะเล
เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

 

ที่มา : http://www.panmai.com/PvTree/tr_15.shtml

ความเป็นมาของ "หมูย่าง" เมืองตรัง

ความเป็นมาของ "หมูย่าง" เมืองตรัง


 

   หมูย่าง หากย้อนตำนานต้นกำเนิดของหมูย่างนั้นเกิดขึ้นในประเทศจีน ประมาณ 1,000 ปีมาแล้ว ในสมัยราชวงศ์ถัง การค้นพบวิธีการย่างหมูนั้นช่างเป็นการบังเอิญเหลือเกิน ในขณะที่พ่อครัวในพระราชวังกำลังปรุงอาหาร ทำหมูชิ้นหนึ่งตกลงไปในเตาถ่าน จนเนื้อสุกและหนังไหม้ พ่อครัวลอง หยิบมาชิม รู้สึกว่าหมูชิ้นนั้นมีรสชาติหอมกรอบอร่อย จึงทำให้เขามีความคิดว่า การนำหมูมาย่างเป็นอาหารจะอร่อยกว่าการนำไปใช้ทำอาหารอย่างอื่น ดังนั้นพ่อครัวจึงทดลองนำหมูมาย่างแล้วนำขึ้นถวายฮ่องเต้ ฮ่องเต้ ทรงโปรดมาก เนื่องจากเมื่อย่างหมูพอสุกพอเหมาะ หนังหมูจะมีสีเหลืองดุจทองคำสุกอร่าม ฮ่องเต้จึงตั้งชื่อหมูย่างนี้ว่า หมูทอง ชาวจีนใช้ชื่อนี้เรียกมาจนถึง ปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านมานับพันปี วิชาการหมูย่างก็ได้เผยแพร่โดยการสืบทอดตระกูลของพ่อครัว จนกระทั่งมาถึงมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นมณฑลที่ชาวเมืองมีฝีมือในการปรุงอาหาร จะเห็นได้จากอาหารจีนที่มีรสอร่อยที่สุดจะปรุงโดยพ่อครัวชาวกวางตุ้งทั้ง สิ้น ดังนั้นจากเดิมหมูย่างซึ่งเป็นอาหารเฉพาะของฮ่องเต้ก็เริ่มแพร่หลายมาเป็น อาหารของสามัญชน แต่ก็ยังถือว่าหมูย่างยังเป็นอาหารระดับฮ่องเต้อยู่
เมื่อ ประมาณ 100 ปีก่อนนี้ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งซึ่งอยู่ใกล้ทะเล ได้เริ่มอพยพออกจากประเทศโดยทางเรือเพื่อเสาะหาแผ่นดินทางทะเลใต้ คือ ประเทศไทย ซึ่งร่ำลือกันว่ามีความอุดมสมบูรณ์กว่าประเทศจีนมาก จึงได้ลงเรือกันมาผจญภัยพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน และมีบางส่วนได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยขึ้นฝั่งที่อำเภอกันตัง หรือปากแม่น้ำตรัง และได้มาบุกเบิกตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดตรัง
ชาว จีนที่อพยพมานี้มีหลายอาชีพ ส่วนใหญ่จะมาบุกเบิกทำไร่พริกไทย จึงได้ตั้งชื่อจังหวัดตรังว่า "เมืองพริกไทย" ชาวจีนเหล่านี้จึงได้มีการเลี้ยงหมูพันธุ์เล็กซึ่งได้นำลงเรือมาด้วยในตำบล ทับเที่ยง ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จังหวัดตรัง ปรากฏว่าได้ผลดีมาก ต่อมาได้มีคนกลุ่มหนึ่งนำหมูมาชำแหละขาย ซึ่งก็คือต้นตระกูลของร้านฟองจันทร์ หลังจากนั้นร้านฟองจันทร์ได้รับชาวจีนคนหนึ่งมาจากมณฑลกวางตุ้งชื่อนายซุ่น มีความสามารถในการย่างหมูมาก หมูที่ย่างจะมีรสชาติกลมกล่อมและหนังที่กรอบ สมัยนั้นจังหวัดตรังมีผู้ที่ย่างหมูได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ต่อมาเมื่อนายซุ่นมีอายุมากขึ้นก็ได้ฝึกผู้ช่วยขึ้นมา วิชาการย่างหมูจึงได้แพร่หลายจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่นั้นมา
หมู ย่างนั้นเดิมเป็นอาหารที่ใช้ในการเซ่นไหว้ของหมู่คนจีน ในงานศพ งานมงคล งานเทศกาลต่างๆ และประกอบพิธีกรรมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือการบนบานศาลกล่าวตามวิถีชีวิตซึ่งยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาหมู่คนจีนในเมืองตรังนิยมนำหมูย่างมากินกับกาแฟ กระทั่งความนิยมกระจายมาสู่หมู่คนตรังในระดับชนชั้นกลางที่เป็นข้าราชการ นักธุรกิจในเขตเมืองตรังและชานเมืองเป็นลำดับ จนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินกาแฟกับหมูย่างในยามเช้าที่ไม่เหมือนใครและไม่มี ใครเหมือนหมูย่างเมืองตรังจึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตรังไปในที่สุด
จาก อาหารพื้นเมืองที่นิยมรับประทานกันในวงจำกัด หมูย่างเมืองตรังได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหอการค้าจังหวัดตรังด้วย การจัดงานเทศกาลหมูย่างเมืองตรังขึ้นตั้งแต่ปี 2533 ต่อเนื่องมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับการได้โหนกระแสนโยบายการท่องเที่ยวของรัฐบาล จึงกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ กลายเป็นของแปลก ของโปรด ของประจำบ้านประจำเมืองไปในที่สุด


ที่มา : http://board.postjung.com/631789.html

วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี เป็นวันครู

วันครูแห่งชาติ 
วันพฤหัสบดี ที่ 16 มกราคม พุทธศักราช 2557
 


วันครู
พระธรรมเทศนาโดย พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ
 
         วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี เป็นวันครู เป็นวันที่ผองศิษย์ทั้งหลายได้ร่วมใจพร้อมใจกันมานอบน้อมเคารพคุณครู ตั้งแต่โบราณกาล เราถือกันว่าคุณครู เป็นผู้ที่มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ต่อศิษย์ทั้งหลาย ถัดมาจากคุณพ่อคุณแม่ทีเดียว ทำไมคุณครูจึงมีพระคุณอันยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ก็ต้องมาดูที่หน้าที่ของครู ท่านสรูปไว้สั้นๆ ใน 2 คำคือ หน้าที่ในการแนะแล้วก็นำ แนะก็คือว่าการสอนให้ความรู้แก่ศิษย์นั่นเอง ส่วนการนำก็คือ การทำให้ดู คือประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ คุณค่าของความเป็นครูประมวลลงในคำ 2 คำนี้ ต้องสอนด้วย แล้วก็ทำตนให้เป็นแบบอย่างด้วย อย่างนี้ละก็ถือเป็นครูที่งามพร้อม สมบูรณ์พร้อม เป็นปูชนียบุคคล ที่ศิษย์ควรจะเคารพบูชา แต่ปัจจุบันเราจะพบว่าเรามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเยาวชนอยู่มากพอสมควรทีเดียว เด็กรุ่นใหม่ในแง่ความรู้สติปัญญาก็อาจจะมีพอสมควร แต่ที่ห่วงกันมากๆก็คือว่าเรื่องความประพฤติ ไม่ว่าจะเป็นการไปหมกมุ่นอยู่กับอบายมุขบ้าง เรื่องเกมส์คอมพิวเตอร์ บ้าง การใช้ความรุนแรงบ้าง หรือเรื่องทางเพศบ้าง ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เราคงต้องย้อนกลับมาดูถึงการทำหน้าที่ของครูกันอีกครั้งแล้วละ

         ว่าปัจจุบันเราเน้นหนักไปในเรื่องของการแนะ คือการสอนให้ความรู้กับศิษย์ มุ่งหวังจะให้ศิษย์ของเราเป็นคนเก่ง ไปสู้โลกกับเขาได้ ให้ทันเทคโนโลยีของโลกมากจนกระทั่งลืมเรื่องคุณธรรม คือการสอนให้ศิษย์เป็นคนดี มันน้อยไปสักนิดหรือเปล่า ปัญหาจึงเกิดมาเช่นนี้ แต่ถ้าเกิดจะแก้ปัญหาให้ได้ ก็คงหนีไม่พ้นว่าภาระหนักอยู่กับคุณครูทั้งหลาย ซึ่งแน่นอนว่าหากจะนำสอนให้ศิษย์เป็นคนดีได้ หนีไม่พ้นว่าคุณครูทั้งหลายจะต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างซะก่อน คงจะต้องหาวิธีการให้คุณครูมาศึกษาธรรมะ แล้วนำสิ่งเหล่านี้ไปถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ด้วย

            ท่านกล่าวว่ากิเลสในตัวคนมัน 3 ตัวเหมือนกัน โลภ โกรธ หลง ถ้าหากเราสังเกตุและเข้าใจตัวเองเมื่อไหร่ เราก็จะเข้าใจคนอื่น ถ้าคูณครูทั้งหลายในฐานะที่ผ่านโลกมามาก ได้สังเกตุปฏิบัติธรรม จนกระทั่งเข้าใจธรรมชาติของใจตัวเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็งตัวเองดี เราก็จะเข้าใจลูกศิษย์ได้ดีเช่นเดียวกัน แล้วเราจะสามารถอบรมสั่งสอนให้เขาเป็นคนดีอย่างที่ควรเป็นได้
 
วันครูแห่งชาติ 16 มกราคม
 
         ปัจจุบันกำลังมีการปฏิรูปการศึกษา คำที่ฮิตคำหนึ่งคือว่า ชายเซ็นเตอร์ แปลเป็นไทยว่าการเรียนการสอน โดยที่ยึดเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง มีบางท่านออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยเหมือนกันบอกว่า จะไปถือตามใจเด็กได้ยังไง ตามใจเด็กเดี๋ยวเด็กเราก็เสียคนหมด มันก็ต้องสอนให้เด็กมาตามครูสิ ตรงนี้อยู่ที่มุมมองการตีความคำว่า เด็กเป็นศูนย์กลาง ถ้าจะถือเด็กเป็นศูนย์กลางเป็นการตามใจเด็กอันนี้ไม่ถูกแน่ แต่ความหมายจริงๆอาตมาเข้าใจว่า คำว่าชายเซ็นเตอร์ หรือการเรียนการสอน โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางหมายถึงว่า คุณครูจะต้องสนใจสังเกตุเด็ก จะสอนอะไรไปจะแนะจะนำอะไรก็ตาม ต้องสังเกตุเด็กว่าปฏิกิริยาตอบรับเป็นอย่างไร ถ้าเป็นการสอนให้ความรู้ เด็กเข้าใจหรือยัง หาวิธีการปรับจนกระทั่งว่าเด็กสามารถศึกษาแล้วเข้าใจได้อย่างดีถ่องแท้ เอาความรู้นั้นไปใช้ได้จริงๆ ไม่ใช่มาถึงเราก็สอนไปอย่างที่เราอยากสอน เด็กจะรู้เรื่องหรือไม่ปล่อยเป็นเรื่องของเขา ถ้าอย่างนี้ประสิทธิภาพการเรียนมันก็ไม่เต็มที่ ต้องสังเกตุผู้เรียน ทำยังไงก็ได้หาวิธีการทุกรูปแบบให้เขาเข้าใจ แล้วก็เอาความรู้นั้นไปใช้ได้
 
        ถ้าในแง่ของเรื่องความประพฤติก็เช่นเดียวกัน ต้องสังเกตุลูกศิษย์ของเราเองไม่ปล่อยเลยตามเลย หาวิธีการทุกรูปแบบ ทำยังไงก็ตามให้ศิษย์ของเราเอง เป็นคนดีอย่างที่พึงเป็นให้ได้ ถ้าหากว่าบางครั้ง เห็นเหลือบ่ากว่าแรงนัก เราก็สามารถประสานพลังได้ อ้าว พาลูกศิษย์ไปวัดบ้าง ไปกราบหลวงปู่ หลวงตาที่มีความรู้ความสามารถ ช่วยอบรมสั่งสอนให้ เป็นครั้งคราวอาจจะไปเช้าเย็นกลับ บางทีอาจจะนิมนต์ท่านมาสอนที่โรงเรียนก็ตาม ไปกราบท่านถึงวัดก็ตาม หรือว่าอาจจะมีการจัดปฏิบัติธรรม 2 วัน 3 วัน ก็ตาม หากิจกรรมธรรมะต่างๆให้เด็กมาร่วม เพื่อกระตุ้นความตื่นตัวในการศึกษาธรรมะ ในการฝึกอบรมปฏิบัติตัวเองให้เป็นคนดี รักบุญกลัว บาป เข้าใจเรื่องกฏแห่งกรรมก็ตาม หรือหาสื่อดีๆให้ศิษย์ของเราเองได้ดูได้ชม เพื่อสร้างเสริมเขาให้เป็นคนที่ทั้งเก่งด้วย แล้วก็ดีด้วย คุณครูคนไหนสามารถทำได้อย่างนี้ละก็ นั่นคือปูชนียบุคคลของศิษย์อย่างแท้จริง ถ้าคุณครูทั้งประเทศช่วยกันคนละไม้คนละมือ เยาวชนทั้ง 13 ล้านคนระบบ การศึกษา จะเป็นเด็กทั้งเก่งแล้วด็ดี แล้วเราจะตอบได้เลยว่า อนาคตของประเทศไทยของเรา ก็จะสว่างไสวแล้วก็เป็นปิ่นนานาประเทศ เป็นแบบอย่างแก่สังคมโลกได้อย่างแท้จริง โดยมีหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นประทีปส่องทางชีวิต แล้วก็อาศัยคุณครูทั้งหลาย เป็นผู้ประสานเอาพระธรรมคำสอนนี้ ไปสู่ใจของเยาวชนทั้งประเทศ เจริญพร

 16 มกราคม วันครูแห่งชาติ
 

วันครู 16 มกราคมของทุกปี

ประวัติความเป็นมาของวันครู

     มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
 
     ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญ คุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของ คุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
 
     “ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือ ว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมี บุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
 
     จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่ แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็น ควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครู กับประชาชน
 
     ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดย เอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้
 
วันครูทางพระพุทธศาสนา คือวันอะไร

     ถ้าเราถือว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นเป็นบรมครูของเรา วันที่เนื่องด้วยพระองค์ก็คือวันวิสาขะบูชา ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จะถือวันนี้ก็คงจะได้ เราไม่ได้มีการกำหนดตายตัวหรอก แต่ถือวันนี้ก็ได้เหมือนกัน หรือว่าบางท่านอาจจะถือว่าพระธรรมเป็นใหญ่ ก็อาจจะถือวันที่พระองค์แสดงธรรมครั้งแรก ก็คือวันอาสาฬหะบูชาก็ได้ ที่พระองค์แสดงปฐมเทศนาธัมมจักรกัปปวัฒนสูตรให้กับปัญจวัคคี ก็ได้เหมือนกัน
 
การบูชาพระคุณของครู ในทางพระพุทธศาสนามีวิธีการอย่างไร

     สุดยอดของการบูชาคือการปฏิบัติบูชา ทำตามสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สอนเอาไว้ หลักก็คือสำหรับพวกเราที่ครองเรือนอยู่ วิถีชีวิตชาวพุทธก็คือ ให้ทาน รักษาศีล แล้วก็ตั้งใจเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา


 
การบูชาพระคุณของครู
ในทางพระพุทธศาสนามีวิธีการอย่างไร
 



บทสวดเคารพครู

          (สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
          ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

สวดทำนองสรภัญญะ

          (สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์
          โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
          ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
          ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน
          จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน
          เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม
          ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม
          กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ
          คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
          ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม
          (กราบ)
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์มีวิธีการสั่งสอนอย่างไร

       โดยรวมก็คือว่า แนะให้รู้แล้วก็ทำให้ดูอย่างนั้นแหละ ชี้แจงสอนแล้วก็วิถีชีวิตพระองค์เองก็เป็นมาตรฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติของ เหล่าสาวกทั้งปวง นั่นเป็นอย่างนั้น ก็วิธีการสอนของพระองค์ก็มีหลายรูปแบบ พระองค์จะต้องถือว่าเป็นผู้ที่มีศิลปะการสอนชั้นเลิศ จะสอนอะไรไม่ใช่เจอแล้วก็สอนเหมือนกันทุกคนไม่ใช่ แต่ว่าพระองค์ใช้การระลึกชาติไปดูก่อนว่า บุคคลผู้นี้ภพในอดีตเคยสั่งสมอะไรมาบ้าง พอพระองค์สอนผู้ฟังจะมีความรู้สึกว่า แบบ ถ้าใช้ศัพท์ปัจจุบันคือโดนจริงๆเลย โดน ฟังแล้วนี่เข้าใจแล้วก็ซาบซึ้ง บอกเหมือนหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง จุดประทีปในที่มืด เปรียบเทียบอย่างนั้นเลย แล้วพระองค์จะมีศิลปะนะคือว่า ไม่ใช่ว่าเขาทำอะไรไม่ถูกอยู่ๆไปถึงบอก นี่คุณผิดนะอย่างงั้นๆ ไม่ใช่ แต่พระองค์ใช้วิธีการดัด ดัดให้เขาได้คิดขึ้นมา แต่ไม่ใช่ใช้วิธีการสวน

     ยกตัวอย่าง มีอยู่คราวหนึ่งพระองค์ไปถึงเห็น สิงฆารกะมานพกำลังยืนไหว้ ไหว้ไปข้างหน้า ไหว้ไปข้างหลัง ไหว้ไปข้างซ้าย ไหว้ไปข้างขวา แล้วก็ไหว้ไปบนฟ้า แล้วก้มไหว้ดินอีก ยืนไหว้อยู่อย่างนี้ ไหว้ไปไหว้มาสลับไปสลับมา เพราะก่อนพ่อแม่จะตายสั่งไว้ว่า ให้ไหว้ทิศทั้ง 6 ซ้ายขวาหน้าหลังบนล่าง ไหว้ทิศทั้ง 6 พระองค์ก็ยืนดู เพราะพระองค์ทราบแล้วที่มาที่ไป แล้วก็บอกสิงฆารกะมานพว่า เขาถามพระพุทธเจ้าว่า ในพระพุทธศาสนามีไหว้ทิศไหม พุทธเจ้าบอกมี ทำให้เขาดีใจรู้สึกว่าเหมือนกัน รู้สึกว่าพวกเดียวกัน แต่พระองค์บอกว่าแต่การไหว้ทิศไม่ได้ไหว้อย่างนี้หรอก พอใจเขาเริ่มเปิดเพราะอยากรู้แล้ว แต่บอกว่าไม่ได้ไหว้อย่างนี้เขาก็อยากรู้ถามไหว้ยังไง พระองค์บอกนี่ไหว้อย่างนี้ ทิศเบื้องหน้าคือพ่อแม่ การไหว้คือ ให้ปฏิบัติตัวเราเองกับพ่อแม่ให้ถูกต้องตามหน้าที่ของลูก แล้วพระองค์ก็สอนว่ามีอะไรบ้าง 1,2,3,4,5 ทิศเบื้องหลังคือบุตรภรรยา เพราะเป็นหน้าที่ของเราเองที่มีต่อบุตรภรรยา ฝ่ายหญิงก็ต่อสามีเป็นต้น ทิศเบื้องขวาคือครูบาอาจารย์ ทิศเบื้องซ้ายคือมิตรสหาย ทิศเบื้องล่างก็คือลูกน้องบริวาร ทิศเบื้องบนคือสมณะพราหมณ์ ผู้ทรงศีล หน้าที่ของเราเองที่ปฏิบัติต่อทิศทั้ง 6 นี้ทำอย่างถูกต้องนั่นคือการไหว้ทิศ ทิศ 6 สิงฆารกะมานพพอฟังแล้วใจ สว่างไสว ไหว้ทิศอย่างนี้สุดยอด เยี่ยม ก็ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา แล้วก็ตั้งใจศึกษาธรรมะจากพระพุทธเจ้า นี่เป็นอย่างนี้เห็นไหม นี่คือศิลปะในการสอนของพระองค์

      พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปเจอคนเคารพพระพรหม พระองค์ก็ไม่ได้บอกว่าไปเคารพทำไม ไม่ถูกอย่างพระองค์บอกว่า เธออยากจะไหว้พรหมตัวจริงไหมล่ะ ให้ถูกหลัก อยากทำยังไงหรือพระยะค่ะ ให้ทำอย่างนี้นะ ให้ประพฤติพรหมวิหารธรรม ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ของพรหม คือเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นี่แหละทำ 4 ข้อนี้ตัวเองจะได้เป็นพรหมด้วยตั้งแต่เป็นพรหมเดินดินบนโลกเลย ละโลกไปแล้วมีสิทธิ์เป็นพรหมอยู่บนสวรรค์ชั้นอรูปภพ อรูปพรหม เป็นต้น



      พระองค์ยังมีศิลปะในการขยายแล้วก็ให้นัยยะที่ถูกต้อง ซึ่งมีความลุ่มลึกลึกซึ้งอย่างเรื่องทิศ 6 พระเจ้าอโศกมหาราชถึงขนาดทำจาลึกพระเจ้าอโศกแกะสลักในหิน แล้วก็ส่งไปปิดประกาศตั้งไว้ในดินแดนพระองค์ตลอดทั้งอินเดีย บอกว่าให้ผสกนิกรตั้งใจศึกษาทิศทั้ง 6 ที่พุทธเจ้าสอนไว้ให้ดี เพราะพระองค์เห็นว่าแค่ทิศ 6 หมวดธรรมเดียวก็ได้อะไรตั้งหลายอย่าง ถ้าเกิดประชากรของพระองค์ตั้งใจปฏิบัติตามทิศ 6 บ้านเมืองสงบร่มเย็นเจริญรุ่งเรืองแน่นอน ถึงขนาดจาลึกอโศกสั่งให้ศึกษาเลย

       มีอยู่คราวหนึ่งพระองค์เสด็จไปในชนบท แล้วก็มีกสิภาระทวาชพราหมณ์ กำลังไถนาอยู่ เป็นชาวนาแต่ชาวนาแบบรวย ทำนากันขนานใหญ่ พอเจอพุทธเจ้าเขาก็รู้ว่าเป็นนักบวช บอกว่า พุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ไถ และหว่านแล้วย่อมบริโภค พระองค์ล่ะ ก็ควรจะไถและหว่านแล้วบริโภคเช่นกัน ถ้าพูดภาษาปัจจุบันคือ อย่ามาขอนะฉันต้องทำงานถึงจะมีกินพูดง่ายๆ ไถและหว่าน แล้วบริโภค ถ้าพระองค์อยากจะบริโภคก็ต้องไถและหว่านต้องทำงานเหมือนกัน เรียกว่าเราเคยเจอคนประเภทนี้ ยุคปัจจุบัน มีชนิดที่ว่า พระไม่ทำงานเบียดเบียนสังคมหรือเปล่า ต้องทำงานสิถึงจะมีกิน อย่างนี้ พุทธเจ้าพระองค์ตอบว่าดูก่อนพราหมณ์ ตถาคต ไถและหว่านแล้วจึงบริโภค พราหมณ์ชักงงแล้วมองพุทธเจ้า ข้าพระองค์ไม่เห็นพระองค์มีไถอยู่ที่ไหนเลยเชือกก็ไม่เห็น ปฏักตระแบกอะไรต่างๆที่ไถ คันไถอะไรก็ไม่เห็นเลย แล้วพระองค์บอกว่าไถและหว่านยังไงไม่เข้าใจ เห็นเดินถือบาตรมาเท่านั้นเอง พระองค์ว่า

       ศรัทธาเป็น พืช เหมือนกับเป็นเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไป ความเพียรนี่จะเป็นฝนโปรยปรายให้ศรัทธานี้งอกงาม ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริคือความละอายต่อบาปนั้นจะเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาน ผานที่ตักดินขึ้นมานี่นะ และปฏักเรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า หญ้าในที่นี้ก็คือวาจาสัปปรับที่กลับไปกลับมาไม่จริง ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะ ของเราเป็นเครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวัง นำไปถึงความเกษมจากกิเลสทั้งปวงไม่ถอยหลัง นำไปยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

      กสิภาระทวาชพราหมณ์ กราบทูลว่า ท่านพระโคดมผู้เป็นชาวนาขอพระองค์จงบริโภคอมตะผลที่ท่านพระโคดมไถนั้นเถิด ยังแค่เชื่อท่านทำนาอย่างนั้นท่านก็บริโภคอย่างนั้นก็อมตะผลนี่นะพูดอย่าง นั้น พุทธเจ้าบอกว่า เราไม่พึงบริโภคโภชนะซึ่งได้เพราะความขับกล่อมไม่ใช่มาพูดเพราะๆอย่างที่ นักบวชศาสนาอื่นมาแสดงดนตรีอะไรต่อมิอะไรต่างๆไม่ใช่ ดูก่อนพราหมณ์ นี่เป็นธรรมบุคคลที่เห็นอรรถและธรรมอยู่ ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมรังเกียจโภชนะที่ได้เพราะการขับกล่อม ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ ความเป็นไป (ก็คือการประกอบอาชีพนี้ก็ยังมีอยู่) ท่านจงบำรุงซึ่งพระขีณาสพ(ก็คือพระอรหันต์ทั้งสิ้น) ผู้แสวงหาคุณใหญ่ มีความคะนองระงับแล้วด้วยข้าวน้ำอันอื่น เพราะว่าการบำรุงนั้นเป็นนาบุญของผู้มุ่งบุญ คือปูมาแต่คนนั้นอาจจะมีทิฏฐิอยู่

        กสิภาระทวาชพราหมณ์ กราบทูลพุทธเจ้าบอกว่า ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นได้ ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฝากคุณครูทั้งหลาย จะเป็นยอดครูละก็ ต้องศึกษาวิธีการสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราจะได้ข้อคิดทั้งวิธีการถ่าย ทอด ทั้งเนื้อหาสาระที่พระองค์ให้ แล้วยิ่งศึกษาจะยิ่งมีความซาบซึ้งในพระคุณของพระองค์

การไหว้ครูคือการแสดงความเคารพระลึกถึงพระคุณของท่าน
 
 
การระลึกนึกถึงพระคุณของคุณครู ในสมัยโบราณมีลักษณะอย่างไร

      สาระหลักของการไหว้ครูคือการแสดงความเคารพระลึกถึงพระคุณของท่าน มอบกายถวายตัวให้กับท่าน ให้ท่านอบรมสั่งสอนมันเป็นอย่างนั้น แต่การแสดงออกก็จะมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละที่กันไป อย่างเช่นในบางที่ก็ใช้วิธีการประกาศปฏิญาณตน บางที่ก็ใช้วิธีการว่าเอาข้าวตอกดอกมะเขือแล้วก็หญ้าแพรกต่างๆไปไหว้ครู เป็นต้น บ้างก็ใช้วิธีการแสดงออกโดยการประทักษิณ อย่างในพระพุทธศาสนาเรา การจะแสดงความเคารพ เราจะใช้การประทักษิณ เราคงได้ยินคำนี้ ประทักษิณอย่างเช่นว่าจะแสดงความเคารพพระพุทธรูป พระประธานในโบสถ์ ก็ประทักษิณรอบโบสถ์ เวียนเทียนนั่นเอง ก็คือเดินแล้วก็ด้วยอาการสำรวมเช่นพนมมือหรือสวดมนต์ไปเป็นต้น แล้วให้ขวามือของเรา อยู่ใกล้กับสิ่งที่เราแสดงความเคารพ เช่นจะเดินผ่านโบสถ์ก็ให้ขวามือเราเองอยู่ใกล้โบสถ์ แล้วก็เดินวนรอบ เรียกว่าเวียนประทักษิณ เจริญพร จะเป็นสถูปเจดีย์ต่างๆประทักษิณคือ เอาขวามือเราอยู่ใกล้สิ่งนั้นแล้วก็เดินรอบ 3 รอบโดยทั่วไป ก็เป็นการแสดงออกซึ่งความเคารพได้เหมือนกัน สำคัญที่ใจ แต่การแสดงออกทางกาย วาจา ก็มีผลเพราะว่า มันจะสื่อเนื่องไปถึงใจด้วย
 

       สิ่งที่แสดงออกสูงที่สุดคือปฏิบัติบูชา การแสดงความเคารพบูชาครูบาอาจารย์ ดีที่สุดคือปฏิบัติบูชา คือทำตามคำสอนของท่าน หน้าที่ของครูมี 2 อย่าง คือแนะให้รู้กับทำให้ดู แนะนำนั่นเองแหละ แนะคือสอนให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร นำก็คือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง การประพฤติปฏิบัติของครูทำให้ดูเป็นตัวอย่าง 2 อย่างประกอบคือหน้าที่หลักของครู หน้าที่ของศิษย์เองก็จะต้องตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามเรียกว่าปฏิบัติบูชา ครูบาอาจารย์สอนอะไรไม่ใช่เข้าหูซ้ายออกหูขวา แต่ใส่ใจรับฟังศึกษาให้เข้าใจแล้วก็นำมาปฏิบัติเป็นเนื้อเป็นหนังเป็นตัว เป็นตนของเราเอง จนซึมเข้าไปในใจของเราเป็นวิถีชีวิตของเราเอง อันนี้คือการปฏิบัติบูชาที่ดีที่สุด ถือเป็นการบูชาอันสูงสุด
 
     ในทางพระพุทธศาสนาของเรานี่ ครูผู้ยิ่งใหญ่ของเราคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระบรมครูนั่น เอง เรารู้จักพระพุทธเจ้าในฐานะ ผู้เป็นพระบรมครู ศาสดาเอกของโลก   เราจึงควรศึกษาของดีๆ ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่สังคมอย่างกว้างขวาง
 
พระบรมครู
 
     พระพุทธเจ้าในสมัยเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียง คือ อาจารย์วิศวามิตร วิชาที่ทรงศึกษา คือ ศิลปศาสตร์ 18 ประการ อันเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จะเป็นกษัตริย์ จะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการ คือ
 
1. ยุทธศาสตร์  วิชานักรบ
2. รัฐศาสตร์  วิชาการปกครอง
3. นิติศาสตร์   วิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่างๆ
4. พาณิชยศาสตร์  วิชาการค้า
5. อักษรศาสตร์  วิชาวรรณคดี
6. นิรุกติศาสตร์  วิชาภาษาทั้งของตน และของชนชาติ ที่เกี่ยวข้องกัน
7. คณิตศาสตร์  วิชาคำนวณ
8. โชติยศาสตร์  วิชาดูดวงดาว
9. ภูมิศาสตร์  วิชาดูพื้นที่ และรู้จักแผนที่ของประเทศต่างๆ
10.โหราศาสตร์  วิชาโหรรู้จักพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ
11.เวชศาสตร์  วิชาแพทย์
12.เหตุศาสตร์  วิชาว่าด้วยเหตุผล หรือตรรกวิทยา
13.สัตวศาสตร์  วิชาดูลักษณะสัตว์ และรู้เสียงสัตว์ว่าดี หรือร้าย
14.โยคศาสตร์  วิชาช่างกล
15.ศาสนศาสตร์  วิชาศาสนารู้ความเป็นมา และหลักศาสนาทุกศาสนา
16.มายาศาสตร์  วิชาอุบาย หรือตำหรับพิชัยสงคราม
17.คันธัพพศาสตร์ วิชาร้องรำหรือนาฎยศาสตร์ และวิชาดนตรีหรือดุริยางค์ศาสตร์
18.ฉันทศาสตร์   วิชาการประพันธ์

     พระพุทธเจ้าทรงศึกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการนี้ จนมีความรู้แตกฉาน ยากที่หาใครเสมอเหมือนได้ จึง กล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีความรู้ ในทางโลกเพียบพร้อม เป็นอย่างดีอยู่แล้ว เมื่อได้เสด็จออกบรรพชา พระองค์ทรงได้ศึกษาเพิ่มเติมจากอาฬารดาบส และอุททกดาบส ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา และทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ จนได้ตรัสรู้ พระองค์จึงทรงพร้อมที่จะสอนบุคคลทุกชั้น ตั้งแต่คนธรรมดา จนถึงนักปราชญ์ และเทวดา  ทุกโอกาสและสถานที่ เราลองมาพิจารณาการสอนแบบพระพุทธเจ้ากัน

ทรงพร้อมที่จะสอน
ทรงสอนด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
ทรงสอนโดยมีจุดมุ่งหมาย
ทรงสอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้ฟัง
ทรงสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างฯ
ทรงสอนโดยใช้สื่อภาษาที่เข้าใจง่าย
ทรงสอนจากสิ่งที่รู้ไปหาสิ่งที่ไม่รู้
ทรงสอนจากยากไปหาง่าย
ทรงสอนโดยจัดคำสอนเป็นข้อๆ
ทรงสอนตามความเข้าใจของผู้อื่น
ทรงสอนโดยวิธีซักถาม
ทรงสอนให้ผู้ฟังลงมือปฎิบัติ
ทรงสอนโดยใช้อุปกรณ์การสอน
ทรงสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาฯ

      แหละนี่คือ หลักการสอนการปฏิบัติตนของพระบรมครูผู้ยิ่งใหญ่ของโลกนี่ ที่เราทุกคนควรนำหลักไปปฏิบัติ เพื่อให้สันติสุขบังเกิดขึ้นแก่โลกใบนี้

ที่มา : http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9-2554.html