วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

สยามคือบ้านของเรา...อ่านแล้วจะรักเมืองไทย ไปแล้วจะรักเมืองตรัง

สยามคือบ้านของเรา...อ่านแล้วจะรักเมืองไทย ไปแล้วจะรักเมืองตรัง


ทะเบียนรถ ตร. คือตรัง
          ผมไม่แน่ใจว่ามีกี่คนอ่านหนังสือเล่มนี้
          หนังสือเล่มนี้ชื่อ"สยามคือบ้านของเรา" แปลจากหนังสือชื่อ Siam Was Our Home ซึ่งเขียนโดย Mary Bulkley Stanton ลูกสาวคนที่ 6 ของ Edna Bruner Bulkley
          Mary เขียนหนังสือเล่มนี้เพราะพี่ชายบอกว่า พบบันทึกและภาพที่แม่(แหม่มเอ็ดน่า) ถ่ายภาพและเขียนถึง"สยาม"ในช่วงที่เธอมาอยู่เมืองไทย โดยเธอมาสมัยรัชกาลที่ 5 และมีชีวิตอยู่ในประเทศสยามถึง 5 แผ่นดิน โดยเธอเล่าถึงชีวิตของเธอตั้งแต่ออกเดินทางมาถึงประเทศสยาม มาสอนที่โรงเรียนวังหลัง (ปัจจุบันคือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) แล้วย้ายไปสอนที่จังหวัดเพชรบุรี (โรงเรียนที่เธอสอนปัจจุบันคือโรงเรียนอรุณประดิษฐ)
          จากนั้นเธอแต่งงานแล้วย้ายไปมีครอบครัวและช่วยสามีอยู่ที่โรงพยาบาลในจังหวัดตรัง
          ในหนังสือเล่มนี้ แหม่มยังได้กล่าวถึงบุคคลสำคัญมากมาย ทั้งพระมหากษัตริย์ไทยหลายรัชกาล พระธิดาในพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ปลัดเมืองเพชรบุรี สมุหเทศาภิบาลภาคใต้ มิสโคล ครูใหญ่โรงเรียนวังหลังในสมัยนั้น ดร.เอกิ้น ผู้ก่อตั้งและครูใหญ่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน คุณหมอเนลสัน เฮส์ แพทย์ใหญ่ประจำกรมการแพทย์ทหารเรือไทย ไปจนถึงขุนโจรชื่อดังในบทบาทนอกตำราประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด เธอเล่าทุกอย่างได้ดี
          ความรักใน"สยาม"ของเธอ ทำให้เธอตัดสินใจอยู่ที่"สยาม"และเขียนบันทึกจนกลายเป็นหนังสือชื่อ Siam Was Our Home นั่นแหละ
          มีคนบอกว่า แหม่มเอ็ดน่า มาอยู่เมืองไทยสมัยเดียวกับ"แหม่มแอนนา" คนเขียนเรื่อง The King and I แต่ทำไมเรื่องราวของแหม่มทั้ง 2 คนถึงแตกต่างกันราวกับคนละยุค คนละสมัย และคนละประเทศ
          "ฉันคิดว่า..เมืองตรังเป็นเมืองที่สวยที่สุดในสยาม"
          นี่คือข้อความที่ Edna Bruner Bulkley บันทึกไว้ เมื่อเธอแต่งงานกับคุณหมอชื่อ Dr. L.C. Bulkley และได้ย้ายไปอยู่ในจังหวัดตรัง
          สำหรับความเกี่ยวข้องของแหม่มเอ็ดน่าและสามี จากประวัติ"คริสตจักรตรัง" ผมขอสรุปว่า จังหวัดตรังเป็นหัวเมืองอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีประชากรหลายพวกหลายเหล่ามาอาศัยอยู่ ทั้งคนอินเดีย มาเลเซีย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามได้อยู่รวมตัวกันเป็นหมู่บ้านตามอำเภอต่างๆ มีสุเหร่าหลายแห่ง และคนจีนที่เดินทางเรือจากประเทศจีนเข้ามาทางแม่น้ำตรังมาขึ้นที่ตำบลแห่ง หนึ่ง ซึ่งต่อมาเรียก "ท่าจีน"
          ก่อนหน้านั้น นอกจตากพุทธและอิสลามแล้ว ยังไม่มีการเผยแพร่คริสต์ศาสนา จนกระทั่ง Mr. John Carrington ซึ่งทำงานกับสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกัน (Ameriean Bible) เดินทางมาจังหวัดตรังในปีค.ศ. 1905 และเมื่อ Dr. & Mrs.Gugene P. Dunlop มาเที่ยวจังหวัดตรัง ก็ได้รับมอบเงิน 3,000 ดอลล่าห์ จากข้าหลวงเมืองตรังเพื่อสร้างโรงพยาบาลทับเที่ยง จังหวัดตรัง
          Dr. G.P. Dunlop จึงมีเสนอให้คณะมิชชั่นนารีมาเปิดสถานประกาศที่ตำบลทับเที่ยง ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการประกาศคริสต์ศาสนาในจังหวัดตรังโดยมิชชั่นนารี ชาวอเมริกัน และมี Dr. L.C. Bulkley มาประจำสถานประกาศและเตรียมสร้างโรงพยาบาลทับเที่ยง
          นั่นคือจุดเริ่มต้นที่"แหม่มเอ็ดน่า"มาอยู่เมืองตรัง เพราะสามีอยู่เมืองตรัง
          และเธอหลงรักเมืองที่เธอเขียนว่า "ฉันคิดว่า..เมืองตรังเป็นเมืองที่สวยที่สุดในสยาม"
คุณชวน..วันเป็นประธานเปิดตัวหนังสือเล่มนี้

พี่มะอึกกับท่านผู้ว่าฯ

          ทริปโอเคไปตรัง..กลับมาแล้ว
          ผมเชื่อว่าคนที่ไปร่วมกันครั้งนี้"อิ่มท้อง"กับอาหารเช้าและเที่ยง ที่มี"หมูย่าง"เป็นตัวประกอบหลัก และ"อิ่มตา"กับการได้แวะชมสถานที่สำคัญบางแห่ง ซึ่งน่าเสียดายที่สภาพดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจ จึงอดไปหลายจุด เช่น ยางพาราต้นแรกที่ผมเขียนถึง
          อย่างไรก็ตาม ทริปโอเคก็ถือว่า"โชคดี" ที่ได้มีโอกาสเข้าไปพบ "ธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล" ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ในฐานะ"รุ่นพี่"ของพี่มะอึก และได้ซึมทราบว่า"ตรัง"ถูกยกเป็นเมืองที่(คน)มีความสุขมากที่สุด
          ผมก็เหมือนพี่มะอึก ...นั่งอ่านที่ทุกคนเขียนถึงก็มีความสุข
          ขนาดไปแค่วันสองวัน ยังมีความสุขขนาดนี้
          ลองนึกดูสิ ถ้าอยู่นานจะมีความสุขขนาดไหน
          ไม่เชื่อ...กลับไปอ่านหนังสือที่ผมเขียนถึง ที่คุณชวน หลีกภัย เป็นประธานเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ ยัง"ชอบ"ถึงขนาดมีคึนบอกว่า ท่านซื้อถึง 400 เล่มเพื่อไปแจกคนอื่นให้รู้ว่า"เมืองตรัง"...น่าอยู่แค่ไหน




โดย ลูกเสือหมายเลข9
 ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=880591

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น