วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
โดย คุณครูนวรัตน์ พวงนาค

แนวคิดในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

การอ่านหนังสือเป็นการพัฒนาตนเองและเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาคนและพัฒนาสังคม การอ่านหนังสือของคนไทยเป็นกิจกรรมที่ไม่แพร่หลายแม้ในหมู่ผู้รู้หนังสือ แล้ว โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่ดีและมีสาระยิ่งมีน้อยขึ้นไปอีก สาเหตุมีอยู่หลายประการนับตั้งแต่การขาดแคลนหนังสือที่ดีและตรงกับความต้อง การของผู้อ่าน การขาดแคลนแหล่งหนังสือที่จะยืมอ่านได้ ไปจนถึงการดึงความสนใจและการแย่งเวลาของสื่ออื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ รวมทั้งขาดแรงจูงใจ และการชักจูง การกระตุ้น และมีนิสัยรักการอ่านทั้งในและนอกโรงเรียน เมื่อเทียบกับความเพลิดเพลินและการได้ฟังได้รู้เห็นเรื่องต่าง ๆ จากโทรทัศน์และวิทยุแล้ว การอ่านหนังสือเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องใช้ความพยายามมากกว่าและต้องมี ทักษะในการอ่าน ถ้าจะให้การอ่านหนังเกิดเป็นนิสัยจำเป็นต้องมีการปลูกฝังและชักชวนให้เกิด ความสนใจการอ่านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักอ่าน ซึ่งควรมีลักษณะ ดังนี้

1. เร้าใจให้เกิดความยากอ่านหนังสือ
2. ให้เกิดความพยายามที่จะอ่านเพื่อจะได้รู้เรื่องที่น่ารู้ที่มีอยู่ในหนังสือ และน่าสนุกตามกิจกรรมที่จัดขึ้น
3. แนะนำ กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกิดความรอบรู้ คิดกว้าง และมีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย
4. สร้างบรรยากาศที่น่าอ่าน รวมทั้งให้มีวัสดุการอ่าน มีแหล่งการอ่านที่เหมาะสมและเพียงพอ 

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

การจัดกรรมส่งเสริมการอ่านให้มีประสิทธิภาพควรมีการเตรียมพร้อมและคำนึงถึงในเรื่องต่อไปนี้

1. จัดห้องสมุด สำหรับให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าสู่บรรยากาศของการอ่านและได้ใกล้ชิดกับหนังสือมาก ยิ่งขึ้น เช่น จัดนิทรรศการหนังสือในโอกาสต่าง ๆ จัดกิจกรรมเพื่อชวนให้อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ ฯลฯ
2. ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ควรเตรียมพร้อมทั้งในด้านวิธีการดำเนินการ สื่อ อุปกรณ์ เพื่อให้การจัดกิจกรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุตามเป้าหมาย และจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนิสัยรักการอ่านด้วย
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ต้องเป็นกิจกรรมที่เร้าใจท้าทายความสนใจความ สามารถของผู้เรียน รวมทั้งมีความหลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีความสุข และเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
4. ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ควรเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านการอ่านของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อที่จะจัดกิจกรรมสนองกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนได้ อย่างเหมาะสม
5. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หากนำตัวอย่างจากเอกสารฉบับนี้ไปใช้ ควรปรับปรุงหรือดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เพื่อให้กิจกรรมดูน่าสนใจแปลกใหม่และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
6. นอกจากโรงเรียนจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้แก่นักเรียน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครองอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อให้การปลูกฝังนิสัยรัก
การอ่านเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง



กิจกรรมเสนอแนะ


การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน นับว่าเป็นวิธีการที่จะช่วยให้การมีความสนุกสนานเพลิดเพลินและเป็นแรงจูงใจ ให้ผู้อ่านได้อ่านอย่างมีความสุข ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านนั้น มักมีกิจกรรมที่คล้ายกันหรือซ้ำกัน อาจสรุปประเภทของกิจกรรมส่งเสริมการอ่านได้ดังนี้

1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านเน้นทักษะการอ่าน
- เล่านิทาน
- เชิดหุ่น
- Reading Rally ว่างจากงาน อ่านทุกคน
- แข่งขันตอบปัญหา
- ห้องสมุดเคลื่อนที่
- ค่ายรักการอ่าน
- แข่งขันตอบคำถามในสารานุกรม
- ยอดนักอ่าน ฯลฯ

2. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่เน้นการเผยแพร่ข่าวสาร
- เสียงตามสาย
- วันสำคัญ
- ย่ามหนังสือสู่ชุมชน
- แหล่งความรู้ในท้องถิ่น
- นิทรรศการ ฯลฯ

3. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่เน้นการแก้ไข และพัฒนา
- คลินิกหมอน้อย
- พี่ช่วยน้อง
- ให้ความรู้การใช้ห้องสมุด
- แข่งขันเปิดพจนานุกรม ฯลฯ

4. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่เน้นพัฒนาทักษะอันต่อเนื่อง
- หนูน้อยนักล่า
- เล่าเรื่องจากภาพ
- จากบทเพลงสู่งานเขียน
- โต้วาที
- เรียงความยุวทูตความดี




ยังมีอีกหลายกิจกรรมในการส่งเสริมให้เกิดนิสัยรักการอ่าน แทนที่จะปล่อยเวลาว่างทิ้งไปให้เปล่าประโยชน์ แต่หันมาหยิบหนังสืออ่านแทน ไม่นานเราก็จะติดเป็นนิสัย จนกลายเป็นคนรักการอ่านในที่สุด

ที่มา : http://www.kroobannok.com/35482

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น