วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทคัดย่อ รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน

การศึกษาครั้งนี้มีจุด มุ่งหมาย  1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5  ก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อการเรียนหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  วิธีการดำเนินการศึกษาใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนามี 3  ขั้นตอน  ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1  การสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ผู้รายงานได้ดำเนินการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 8  เล่ม  คือ  วีรบุรุษเขาค้อ,  พระบรมธาตุเจดีย์กาญจนาภิเษก,  อนุสรณ์สถานตำนานนักรบกล้า,  พระตำหนักเขาค้อ,  แก่งบางระหันตำนานแมงกะพรุนน้ำจืด,  น้ำตกศรีดิษฐ์,  พ่อขุนผาเมืองวีรบุรุษสร้างชาติ  และพระพุทธมหาธรรมราชาพระผู้คู่บุญญาเมืองเพชรบูรณ์  ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมจากนั้นนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่  5  เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ตามเกณฑ์ 80/80  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  หนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  และแบบประเมินความเหมาะสมของหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพโดยใช้สูตร  E1/E2
ขั้นตอนที่ 2  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555  โรงเรียนอนุบาลเขาค้อ (เจริญทองนิ่มวิทยา)  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์  เขต 2  จำนวน 32  คน  ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling) แบบแผนในการศึกษา  คือ  One  Group  Pretest – Posttest  Design  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความภาษาไทย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  การทดสอบค่าที (t-test  Dependent)
ขั้นตอนที่ 3  การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  เครื่องมือที่ใช้  คือ  แบบประเมินความพึงพอใจ       ของนักเรียน  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1.  ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.66/82.50  และ 83.75/82.67  ตามลำดับ  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80  ที่กำหนด
2.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความภาษาไทย  หลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระ    การเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ     ทางสถิติที่ระดับ 0.01
3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด  การอ่านจับใจความภาษาไทย  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ขอบคุณที่มาจาก http://www.kroobannok.com/blog/61555
ขอบคุณที่มาจาก http://www.happyreading.in.th/article/detail.php?id=1691

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น